การศึกษากระบวนการจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การจัดการความรู้, สถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกระบวนการจัดการความรู้ตามสถานภาพของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูและผู้บริหารจำนวน 411 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และทำการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดปทุมธานี มีจำนวนทั้งหมด 411 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คิดเป็นร้อยละ 12.20 และครู คิดเป็นร้อยละ 87.80 มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 65.70 การศึกษาระดับต่ำกว่าถึงปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 82.24 ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดกลาง คิดเป็นร้อยละ 34.50 และประสบการณ์ในการปฏิบัติมากกว่า 5 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 83.20 กระบวนการจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี ด้านการค้นหาความรู้ ด้านการสร้าง และแสวงหาความรู้ ด้านการจัดความรู้ให้เป็นระบบและเข้าใจง่าย ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และด้านการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะในกระบวนการจัดการความรู้ คือ สถานศึกษามีสื่อ อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยไม่เพียงพอ สถานศึกษาขาดงบประมาณสำหรับการอบรมเพื่อมาขยายผลสู่ครูผู้สอนและผู้เรียน ขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทาง สถานศึกษาไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน ครูและนักเรียนขาดโอกาสเรียนรู้ เนื่องจากกิจกรรมแต่ละภาคเรียนมีมาก การเปรียบเทียบกระบวนการจัดการความรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามตำแหน่งที่แตกต่างกัน มีการรับรู้กระบวนการดำเนินการจัดการความรู้ของบุคลากรในสถานศึกษา ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05