ศักยภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทัศนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อนันต์ นุ่มโต นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทัศนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี (2) เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทัศนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี โดยจำแนกตามประเภทองค์กร ตำแหน่งของบุคลากร และระดับการศึกษาของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริหาร และพนักงานส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ หาค่าร้อยละ  (percentage)  ค่าเฉลี่ย (mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (standard deviation) ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test แล้วทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe¢) ผลการวิจัยพบว่า

                      1. บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทัศนะต่อศักยภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ ศักยภาพด้านบุคลากร และศักยภาพด้านงบประมาณ ส่วนศักยภาพด้านการจัดการ และศักยภาพด้านอาคารสถานที่ สื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ อยู่ในระดับปานกลาง

                      2. บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างกัน มีทัศนะต่อศักยภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

                      3. บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีตำแหน่งต่างกัน มีทัศนะต่อศักยภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

                      4. บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีทัศนะต่อศักยภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี (= 3.58) และมีการศึกษาระดับปริญญาตรี (= 3.53) มีทัศนะต่อศักยภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแตกต่างกับ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (= 3.27)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย