รูปแบบการจัดการองค์กรเครือข่ายการจัดการศึกษานอกระบบในชุมชน

ผู้แต่ง

  • เนาวเรศ น้อยพานิช นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การจัดการเครือข่ายการ, การศึกษานอกระบบ, ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการจัดการเครือข่ายการจัดการศึกษานอกระบบในชุมชน (2) เสนอรูปแบบ ทดลองใช้รูปแบบและประมวลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเครือข่ายการจัดการศึกษานอกระบบในชุมชน (3) ประเมินผลการจัดการเครือข่ายการจัดการศึกษานอกระบบในชุมชน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ จากประชากรจำนวน 1,017 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และข้อมูลจากการประชุมกลุ่มจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้กระบวนการเทคนิคเดลฟาย และการวิเคราะห์ความเที่ยง (reliability) โดยการนำไปทดลองใช้ (try out) หาค่าความสอดคล้องภายใน สำหรับแบบสอบถามที่วัดสภาพการปฏิบัติการบริหารการจัดการเครือข่ายการศึกษานอกระบบ ใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbarch  โดยการนำไปทดลองใช้กับวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว การวิเคราะห์ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์  โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า  รูปแบบการจัดการองค์กรเครือข่ายการจัดการศึกษานอกระบบในชุมชน  มีปัจจัย  2  ด้าน  คือ  ปัจจัยด้านการสร้างเครือข่ายและปัจจัยการบริหารเครือข่าย การสร้างเครือข่ายมี 3  องค์ประกอบย่อย ได้แก่  (1) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในชุมชน  (2) รูปแบบการรวมตัวขององค์กรเครือข่าย   (3) ระดับการร่วมมือขององค์กรเครือข่าย   ปัจจัยด้านการบริหารเครือข่าย  มี  4  องค์ประกอบย่อย  ได้แก่  (1) หลักการของการทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือ  (2) แนวทางการจัดการองค์กรเครือข่าย  (3) ขั้นตอนกระบวนการและความร่วมมือขององค์กรเครือข่าย  (4) การสร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันขององค์กรเครือข่าย  สำหรับการประมวลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ  รูปแบบการจัดการองค์กรเครือข่ายการจัดการศึกษานอกระบบในชุมชน  มีความคิดเห็น  สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับ  ร่างรูปแบบการจัดการองค์กรเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบในชุมชน  ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการองค์กรเครือข่ายการจัดการศึกษานอกระบบในชุมชน  พบว่าสามารถปฏิบัติได้ในระดับดีมากทุกปัจจัยหลักและองค์ประกอบย่อย  ส่วนการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของผู้ปฏิบัติงานที่เป็นเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ทุกปัจจัยหลักและองค์ประกอบย่อย  มีความเหมาะสมในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย