การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ทิพย์วิภา เทศวิศาล นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) ผลของการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติ  (3) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (4) สร้างแนวทางในการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติ ประชากรได้แก่ ผู้บริหารและผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา  ขั้นพื้นฐานที่เป็นของรัฐในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวม 6 จังหวัด ปีการศึกษา 2551 จำนวน 320 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามตามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติพื้นฐานและค่าสถิติตามโปรแกรมลิสเรล

                ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติในภาพรวมมีสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง (2)  ผลของการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติพบว่า ในภาพรวมมีสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง (3) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติพบว่า โมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเมื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติเรียงตามลำดับอิทธิพลดังนี้คือ ปัจจัยด้านวัตถุประสงค์และมาตรฐานของนโยบาย  ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารและส่งเสริม  ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากส่วนกลาง  ปัจจัยด้านการสนับสนุนของท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นและปัจจัยด้านศักยภาพของสถานศึกษา และเมื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพของสถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลโดยรวมประกอบด้วย ปัจจัยด้านวัตถุประสงค์และมาตรฐานของนโยบาย  การติดต่อสื่อสารและส่งเสริม  การสนับสนุนจากส่วนกลาง  ปัจจัยด้านการสนับสนุนของท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น (4)  การจัดทำคู่มือโดยมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้  ผู้บริหารมีความพร้อมในการดำเนินงาน  เตรียมบุคลากร เตรียมข้อมูล ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบวัตถุประสงค์และมาตรฐานของนโยบาย  ขั้นตอนต่อไปทีมนำกำหนดยุทธศาสตร์ ทีมพัฒนากำหนดแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา โดยกำหนดโครงการสำคัญคือ โครงการกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา โครงการพัฒนาบุคลากร  โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย โครงการระดมทรัพยากรและโครงการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งจะส่งผลต่อความสำเร็จคือครูใช้ ICT ในการสอน ผู้เรียนใช้ ICTในการเรียนรู้ มีสื่อนวัตกรรมจากการใช้ ICT สถานศึกษาใช้  ICT ในการบริหาร บริการชุมชนทำให้ มีความร่วมมือของรัฐเอกชนและชุมชน  การดำเนินงานต่อเนื่อง  เป็นวัฒนธรรมขององค์กรและมีการเผยแพร่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย