ปัจจัยที่สัมพันธ์กับลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1

ผู้แต่ง

  • ภคพร น้อยมิ่ง นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ, การบริหารงานวิชาการ, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพและปัจจัยที่สัมพันธ์กับลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่สัมพันธ์ลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 จำนวน 125 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 62 ข้อ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.973 และค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเป็นค่า IOC เท่ากับ 1.00ผลการศึกษาพบว่า (1) ลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยความรู้ความสามารถในการปฏิรูปการเรียนรู้  ความเป็นผู้นำทางวิชาการลักษณะความมีคุณธรรมจริยธรรม (2)  ปัจจัยด้านบทบาททางวิชาการ และด้านความผูกพันต่อองค์การ มีความสัมพันธ์กันภายในและมีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (3)  ปัจจัยที่พยากรณ์ลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยความผูกพันต่อองค์การความต้องการเป็นสมาชิกขององค์การ การนิเทศการศึกษา  การจัดแหล่งเรียนรู้  มีความเชื่อมั่นและยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ  ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้  Y¢ =  0.760 + 0.178 (ความผูกพันต่อองค์การด้านความต้องการเป็นสมาชิกขององค์การ) + 0.136 (บทบาททางวิชาการด้านการนิเทศการศึกษา) +  0.196 (บทบาททางวิชาการด้านการจัดแหล่งเรียนรู้) + 0.188 (ความผูกพันต่อองค์การด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามในการปฏิบัติงาน) + 0.113 (ความผูกพันต่อองค์การด้านความเชื่อมั่นและยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ)Z¢ =  0.268 (ความผูกพันต่อองค์การด้านความต้องการเป็นสมาชิกขององค์การ) + 0.199 (บทบาททางวิชาการด้านการนิเทศการศึกษา) + 0.247 (บทบาททางวิชาการด้านการจัดแหล่งเรียนรู้) + 0.253 (ความผูกพันต่อองค์การด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามในการปฏิบัติงาน) + 0.140 (ความผูกพันต่อองค์การด้านความเชื่อมั่นและยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย