ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลในภาควิชาพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลรามาธิบดี

ผู้แต่ง

  • กวิตา เกิดมงคล นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน อาจารย์พยาบาล, อาจารย์พยาบาลภภาควิชาพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ อาจารย์พยาบาลในภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาล และเพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาล จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และตำแหน่งทางวิชาการ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 108 คน โดยใช้สูตรทฤษฏีลิมิตกลาง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเพื่อวัดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยจูงใจ 6 ด้าน 48 ข้อ ด้านปัจจัยบำรุงรักษา 6 ด้าน 63 ข้อ คุณภาพของเครื่องมือมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0. 7–1.0 และมีค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของ Cronbach ได้ค่าแอลฟ่า เป็นรายด้านอยู่ระหว่าง 0.70–0.92 และรวมทั้งฉบับมีค่า 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบค่าเฉลี่ยโดยการใช้ t–test และ F–test เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้ Scheffe test

                ผลการวิจัยพบว่าอาจารย์พยาบาลในภาควิชาพยาบาลศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล  โรงพยาบาลรามาธิบดี มีความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจ  และปัจจัยบำรุงรักษา  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน อาจารย์พยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาโท มีความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจ  ในด้านความสำเร็จของงานมากกว่าอาจารย์พยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาโท อาจารย์พยาบาลที่มีตำแหน่งทางวิชาการ มีความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจ ใน ด้านความรับผิดชอบ มากกว่าอาจารย์พยาบาลที่ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ และ อาจารย์พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 11-20 ปี มีความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจในด้านการยอมรับนับถือ มากกว่าอาจารย์พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงานในการทำงานระหว่าง  1-10 ปี และ 21 ปีขึ้นไป ส่วนปัจจัยบำรุงรักษาทุกด้าน อาจารย์พยาบาลที่มีสถานภาพต่างกันมีความพึงพอใจมากเท่ากันในทุก ๆ ด้าน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย