นวัตกรรมทางการตลาดของอุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งออกในประเทศไทย: ผลการดำเนินงาน

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา จันทนา อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

นวัตกรรมทางการตลาด, อุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ดำเนินงาน 4 ด้านคือ (1) สำรวจข้อมูลทางธุรกิจของอุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งออก (2) นวัตกรรมการตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ (3) การดำเนินงานของอุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมทางการตลาดของอุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์กับผลการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประชากร ได้แก่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ จำนวน 884 องค์กร คำนวณจากสูตรของทาโร่ยามาเน่ ได้ กลุ่มตัวอย่าง 275 คน สถิติที่ใช้   ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้  (1) หัวหน้าสายการผลิต มีประสบการณ์ในการทำงาน 4-6 ปี ธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจส่งออก 4-5 ปี มีสัดส่วนของยอดขายส่งออกต่อยอดขายในประเทศ ปี 2550-2553 คิดเป็นร้อยละ 1-25% ของยอดขายทั้งหมดผลิตสินค้าส่งออก 1-3 สายผลิตภัณฑ์ ตลาดต่างประเทศที่ส่งออกอยู่ระหว่าง 1-3  ประเทศ กลุ่มประเทศที่ส่งสินค้าไปจำหน่ายคือกลุ่มประเทศอาเซียน (มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน)  เทคโนโลยีที่ในการผลิตใกล้เคียงกับคู่แข่ง บริษัทตั้งงบประมาณในการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อปีคิดเป็นร้อยละ 1-3  ของยอดขายและดำเนินงานโดยผู้บริหารระดับสูงของบริษัท (2)  โดยภาพรวม พบว่า นวัตกรรมทางการตลาดของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการส่งออก อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ และด้านการตลาด (3)  ผลการดำเนินงานด้านการส่งออก โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านนวัตกรรม และด้านผลการดำเนินงาน (4)  ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมทางการตลาดกับผลการดำเนินงาน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย