ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชลบุรี กระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารการพยาบาล, โรงพยาบาลชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดชลบุรี (2) ศึกษาเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำแนกตามอายุ การศึกษา สถานภาพการทำงาน ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้บริหารการพยาบาลจำนวน 94 คน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVAประกอบกับ Scheffe's test) ผลการวิจัยพบว่า(1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับสูงทุกด้าน ( =3.58, S.D.=0.51) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการสร้างแรงบันดาลใจมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด( =3.64)รองลงมา คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ( =3.59) และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( =3.57) (2) เมื่อจำแนกตามอายุพบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลที่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี และ 35-44 ปี มีความแตกต่างกันทั้งโดยรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า พยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทและระดับปริญญาตรี โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าผู้บริหารการพยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรี มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการกระตุ้นทางปัญญาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้บริหารการพยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับปริญญาโท (4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลจำแนกตามประสบการณ์การดำรงตำแหน่ง พบว่า ผู้บริหารการพยาบาลที่มีประสบการณ์การดำรงตำแหน่งน้อยกว่า 2 ปี, 2-5 ปี และมากกว่า 5 ปี โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าผู้บริหารการพยาบาลที่มีประสบการณ์การดำรงตำแหน่งมากกว่า 5 ปี มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการกระตุ้นทางปัญญาสูงกว่ากลุ่ม 2-5 ปี และกลุ่มน้อยกว่า2 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05