การรับรู้ของมารดาต่อพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพในห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทร, การรับรู้, พยาบาลวิชาชีพ, ห้องคลอดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรับรู้ของมารดาต่อพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทร ของพยาบาลวิชาชีพในห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี (2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้ของมารดาต่อพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทร ของพยาบาลวิชาชีพในห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดในโรงพยาบาลขุมชน จังหวัดปทุมธานี จำนวน 332 คน สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์ครอนบาคของแบบสอบถาม .96 สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียนเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานประกอบด้วย สถิติ Independent t-test และ one way anova กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) การรับรู้ของมารดาต่อพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพในห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดปทุมธานี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง (p < 0.05) 2) การรับรู้ของมารดาต่อพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทร ของพยาบาลวิชาชีพในห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี ตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าประสบการณ์คลอดในโรงพยาบาลชุมชน มีการรับรู้แตกต่างกันทั้งโดยรวมและรายด้าน (p < 0.05) ส่วนปัจจัยด้านอายุ การศึกษา สถานภาพการสมรส รายได้ อาชีพ สิทธิการรักษาที่แตกต่างกัน มีการรับรู้พฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมไม่แตกต่างกัน (p < 0.05)