การวิจัยเพื่อพยากรณ์อนาคต

ผู้แต่ง

  • Rungtiwa Thanomboon สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • Sombat Teekasab Eastern Asia University

คำสำคัญ:

การวิจัย, พยากรณ์

บทคัดย่อ

มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในโลกอยู่ตลอดเวลา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา การคมนาคม สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ส่งผลให้คนในสังคมต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข การเตรียมพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่าง ๆ เข้ามาช่วย เพื่อให้สามารถทำนายอนาคตได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ การวิจัยเพื่อพยากรณ์อนาคตเป็นกระบวนการทำนายอนาคตที่เชื่อถือได้มากที่สุด

                มีผู้ให้คำจำกัดความการวิจัยอนาคตไว้หลายท่าน เช่น เทียนฉาย กีระนันทน์ (2541) ให้ความหมายการวิจัยเชิงอนาคตว่า เป็นงานวิจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งในการวางแผน กำหนดนโยบาย และการดำเนินงานในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำการทำนาย คาดคะเน หรือพยากรณ์เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จากข้อมูลพื้นฐานที่ผ่านมาในอดีตและข้อค้นพบที่จะได้จากการวิจัย เพื่อค้นหาแนวโน้มที่จะเกิดเหตุการณ์ในอนาคต ส่วนเท็กซ์เตอร์ (Textor, 1980 อ้างอิงใน ศิริพงศ์ รักใหม่, 2553: 24) ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึงการแสวงหาทางเลือกของอนาคตอย่างมีระบบ โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้น

การวิจัยเพื่อพยากรณ์อนาคต เป็นเทคนิคการวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินเหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งระยะสั้นหรือระยะยาว โดยคำนึงถึงปฏิสัมพันธ์และผลกระทบระหว่างเหตุการณ์หรือพฤติกรรมด้วย ผลการวิจัยจะนำไปใช้ศึกษาเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันเนื่องมาจากการตัดสินใจ หรือนโยบาย หรือการดำเนินการใด ๆ ในปัจจุบัน

มีงานนำเสนอในประเด็นคล้ายกัน คือภาพลักษณ์อนาคต โดย Ringland (2006) ซึ่งให้คำจำกัดความไว้ว่า ภาพลักษณ์อนาคตคือส่วนหนึ่งของการวางแผนอนาคตที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการกับสิ่งที่ไม่แน่นอนของอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-11-18

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ