อาการเมาอากาศกับการออกกำลังกายของนักกีฬาร่มบิน
คำสำคัญ:
การออกกำลังกาย, กีฬาร่มบิน, เมาอากาศบทคัดย่อ
ผู้วิจัยจึงศึกษาระดับอาการเมาอากาศที่เกิดขึ้นกับนักกีฬาร่มบินของสมาคมกีฬาทางอากาศฯ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักกีฬาร่มบินอาจมีอาการเมาอากาศเกิดขึ้นขณะหรือหลังจากทำการฝึกซ้อมโดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักกีฬาร่มบินชาวไทยที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักกีฬากับสมาคมกีฬาทางอากาศฯ ภายใต้การกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ 2556 จำนวน 107 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ T-test และ F-test ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับของอาการการเมาอากาศจำแนกตามเพศ พบว่าโดยรวมกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศแตกต่างกัน มีระดับของอาการการเมาอากาศไม่แตกต่าง (2) เมื่อจำแนกตามอายุโดยรวม พบว่าโดยรวมอายุของกลุ่มตัวอย่าง มีระดับของอาการการเมาอากาศไม่แตกต่างกัน (3) เมื่อจำแนกตามจำนวนครั้งที่ทำการฝึกซ้อม พบว่าโดยรวมกลุ่มตัวอย่าง มีระดับของอาการการเมาอากาศ ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4) เมื่อจำแนกตามความถี่ในการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ พบว่าโดยรวมกลุ่มตัวอย่างที่มีความถี่ในการออกกำลังกาย มีระดับของอาการการเมาอากาศ ไม่แตกต่างกัน (5) เมื่อจำแนกตามเวลาเฉลี่ยในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง พบว่าโดยรวมกลุ่มตัวอย่างที่มีเวลาเฉลี่ยในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง 30 นาทีต่อครั้ง, 1 ชั่วโมงต่อครั้ง และมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง มีระดับของอาการการเมาอากาศ ไม่แตกต่างกัน