ผลของผลิตภัณฑ์โลชันที่มีส่วนประกอบของสารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งต่อผิวหนังผู้สูงอายุ ในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วรรณิสา โตมะโน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • รัฐพล ศิลปรัศมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • จิรณัฐ บัวอาจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • สุพิชฌาย์ ผุยสุ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ว่านหางจระเข้, การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง, ความชุ่มชื้นผิวหนัง, การสูญเสียน้ำจากผิวหนัง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็ง (2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โลชันที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งที่มีความคงตัว และ (3) เพื่อศึกษาผลการใช้ผลิตภัณฑ์โลชันที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชาย/หญิงมีภาวะผิวแห้ง จำนวน 60 คน กลุ่มควบคุม 30 คน และกลุ่มทดลอง 30 คน หลังใช้โลชัน 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลค่าความชุ่มชื้นและค่าการสูญเสียน้ำจากผิวหนัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ผลการศึกษาพบว่า (1) สารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งที่ความเข้มข้นร้อยละ 6-200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ร้อยละ 16.43–66.22 โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 143.92 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (2) ผลิตภัณฑ์โลชันที่ส่วนประกอบของสารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งมีความคงตัวดี (3) ผลการทดสอบประสิทธิภาพหลังใช้ผลิตภัณฑ์โลชันที่ส่วนประกอบของสารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความชุ่มชื้นผิว เท่ากับ 34.24 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับค่าการสูญเสียน้ำจากผิวหนัง กลุ่มทดลองมีค่าการสูญเสียน้ำจากผิวหนัง เท่ากับ 6.82 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาสรุปว่า สารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ผลิตภัณฑ์โลชันที่มีส่วนประกอบของสารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งมีความคงตัวดี และมีผลต่อผิวหนังผู้สูงอายุด้านการเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการสูญเสียน้ำออกจากผิวหนัง สามารถนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธรรมชาติเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป

References

Djawad, K., & Anggraini, D. (2021). The effectiveness of Oral Superoxide Dismutase (SOD) on total antioxidant status, Transepidermal Water Loss (TEWL) and sebum concentration in photo aging skin. Medical science of Ukraine, 17(1), 47-56. https://doi.org/10.32345/2664-4738.1.2021.06

Dobos, G., Trojahn, C., Lichterfeld, A., D Alessandro, B., Patwardhan, S. V., Canfield, D., Blume-Peytavi, U., & Kottner, J. (2015). Quantifying dyspigmentation in facial skin ageing: An explorative study. International Journal of Cosmetic Science, 37(5), 542–549. https://doi.org/10.1111/ics.12233

Hajheydari, Z., Saeedi, M., Morteza-Semnani, K., & Soltani, A. (2014). Effect of Aloe vera topical gel combined with tretinoin in treatment of mild and moderate acne vulgaris: A randomized, double-blind, prospective trial. The Journal of Dermatological Treatment, 25(2), 123–129. https://doi.org/10.3109/09546634.2013.768328

Hosseinimehr, S. J., Khorasani, G., Azadbakht, M., Zamani, P., Ghasemi, M., & Ahmadi, A. (2010). Effect of aloe cream versus silver sulfadiazine for healing burn wounds in rats. Acta Dermatovenerologica Croatica: ADC, 18(1), 2–7. PMID: 20361881

García, M. H., Juárez, J. A. T., & Jiménez, A. D. (2019). Importance and properties of aloe vera in the production of hair shampoo. The Journal of Middle East and North Africa Sciences, 5(7), 18-23. https://bit.ly/3O1fKBe

Gkogkolou, P., & Böhm, M. (2012). Advanced glycation end products: Key players in skin aging?. Dermato-Endocrinology, 4(3), 259–270. https://doi.org/10.4161/derm.22028

Gomes-Rochette, N. F., Da Silveira Vasconcelos, M., Nabavi, S. M., Mota, E. F., Nunes-Pinheiro, D. C., Daglia, M., & De Melo, D. F. (2016). Fruit as potent natural antioxidants and their biological effects. Current Pharmaceutical Biotechnology, 17(11), 986–993. https://doi.org/10.2174/1389201017666160425115401

Kancheva, V. D., & Kasaikina, O. T. (2013). Bio-antioxidants - a chemical base of their antioxidant activity and beneficial effect on human health. Current Medicinal Chemistry, 20(37), 4784–4805. https://doi.org/10.2174/09298673113209990161

Katta, R., Sanchez, A., & Tantry, E. (2020). An anti-wrinkle diet: Nutritional strategies to combat oxidation, inflammation and glycation. Skin therapy letter, 25(2), 3–7. PMID: 32196147

K Green, A. C., Hughes, M. C., McBride, P., & Fourtanier, A. (2011). Factors associated with premature skin aging (photoaging) before the age of 55: A population-based study. Dermatology (Basel, Switzerland), 222(1), 74–80. https://doi.org/10.1159/000322623

Krutmann, J., Bouloc, A., Sore, G., Bernard, B. A., & Passeron, T. (2017). The skin aging exposome. Journal of Dermatological Science, 85(3), 152–161. https://doi.org/10.1016/j.jdermsci.2016.09.015

Lee, C. M., Watson, R. E. B., & Kleyn, C. E. (2020). The impact of perceived stress on skin ageing. Journal of the European Academy of Dermatology and Venereology: JEADV, 34(1), 54–58. https://doi.org/10.1111/jdv.15865

Leung, M. H. Y., Tong, X., Bastien, P., Guinot, F., Tenenhaus, A., Appenzeller, B. M. R., Betts, R. J., Mezzache, S., Li, J., Bourokba, N., Breton, L., Clavaud, C., & Lee, P. K. H. (2020). Changes of the human skin microbiota upon chronic exposure to polycyclic aromatic hydrocarbon pollutants. Microbiome, 8(1), 100. https://doi.org/10.1186/s40168-020-00874-1

Lim, K. M. (2021). Skin epidermis and barrier function. International Journal of Molecular Sciences, 22(6), 3035. https://doi.org/10.3390/ijms22063035

Naylor, E. C., Watson, R. E., & Sherratt, M. J. (2011). Molecular aspects of skin ageing. Maturitas, 69(3), 249–256. https://doi.org/10.1016/j.maturitas.2011.04.011

Raeisi Estabragh, M. A., Sajadi Bami, M., Dehghannoudeh, G., Noudeh, Y. D., & Moghimipour, E. (2023). Cellulose derivatives and natural gums as gelling agents for preparation of emulgel-based dosage forms: A brief review. International Journal of Biological Macromolecules, 241, 124538. https://doi.org/10.1016/j.ijbiomac.2023.124538

Schikowski, T., & Hüls, A. (2020). Air pollution and skin aging. Current Environmental Health Reports, 7(1), 58–64. https://doi.org/10.1007/s40572-020-00262-9

Sawaddichai, C., Im-iam, S., Saensanoh, S., Inthawattana, W., & Chaiyamongkol, K. (2018). Aloe vera. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 35(3), 324-328. (in Thai)

Sillaparassamee, R., Jaricksakulchai, J., & Sawangaleerat, R. (2022). Effect of organic agriculture wastes Sandoricum koetjape for health product development anti–oxidation to commercialization, Sa Kaeo Province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 17(1), 103-112. (in Thai)

Tangjitjareonkun, J., & Supabphol., R. (2015). Application of Aloe vera on wound healing. Journal of Medicine and Health Sciences, 22(3), 53-67. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-12