การประยุกต์ใช้ TRIZ และวิศวกรรมปัจจัยมนุษย์ในการปรับปรุงที่นั่งชิงช้า

ผู้แต่ง

  • พรศิริ จงกล สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ภาคิน อัตตวิริยะสุวร สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • มนัญชยา ถาวรสวัสดิ์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • รชนีกร พลปัถพี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • สุภารัตน์ ค้างสันเทียะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ชิงช้า, การออกแบบ, วิศวกรรมปัจจัยมนุษย์, ทริซ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุและอาการบาดเจ็บของเด็กที่เกิดจากการเล่นชิงช้า (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กเกี่ยวกับที่นั่งชิงช้า และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงที่นั่งชิงช้าโดยใช้ TRIZ และวิศวกรรมปัจจัยมนุษย์ กรณีศึกษาของงานวิจัยนี้เป็นโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ แบบสอบถาม และ TRIZ แบบสอบถามมี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น อายุ เพศ ชั้นเรียน ส่วนที่ 2 ข้อมูลการเกี่ยวกับการเล่นชิงช้า เช่น การเกิดอุบัติเหตุ อาการบาดเจ็บ เป็นต้น ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเด็กนักเรียนอายุ 7-12 ขวบ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่ามากที่สุด ค่าน้อยที่สุด ค่าร้อยละ จากผลการวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุพบว่า เด็กที่เคยเกิดอุบัติเหตุในการเล่นชิงช้ามีร้อยละ 41.1 โดยเป็นการพลักตกจากชิงช้าจำนวนร้อยละ 27.7 ลักษณะการบาดเจ็บที่มากที่สุด คือ แผลถลอกคิดเป็นร้อยละ
16.0 เด็กได้แสดงความคิดเห็นของเกี่ยวกับที่นั่งชิงช้าดังนี้ ที่นั่งต่ำเกินไปร้อยละ 30.0 ที่นั่งสูงเกินไปร้อยละ 16.6 ที่นั่งลื่นร้อยละ 15.3 และที่นั่งแคบร้อยละ 6.8 ส่วนผลการใช้ TRIZ ในการแก้ไขปัญหาที่นั่งลื่นพบว่า หลักการในการแก้ปัญหาคือ การเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในการทำที่นั่งจากวัสดุเดิมเป็นเหล็กเปลี่ยนเป็นยางพาราธรรมชาติหล่อขึ้นรูป ที่นั่งมีผิวเรียบ ขอบและมุมโค้งมน ส่วนผลการใช้วิศวกรรมปัจจัยมนุษย์ในการออกแบบที่นั่งชิงช้า พบว่า การออกแบบความกว้างของที่นั่งชิงช้าพิจารณาจากค่าเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของค่าความกว้างของสะโพกขณะนั่ง ส่วนการออกแบบความลึกของที่นั่งชิงช้าพิจารณาค่าเปอร์เซนไทล์ที่ 5 ของระยะจากสะโพกถึงข้อพับเข่าด้านใน

References

Bunma, M., Lawanvadeekul, S., Hunyala, J., Yimlamai, W., & Samuttalak, K. (2017). Environmentand safety of outdoor. Playground Equipment for Pre-School Child, 11(2), 146-162. (in Thai)

Chongjaroenjai, P., Attawiriyasuworn, P., & Jongkol, P. (2023). Study of accidents from playing swing of primary students in Nakhon Ratchasima Province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 17(2), 212-213. (in Thai)

Goonetilleke, R., & Feizhou, S. (2001). A methodology to determine the optimum seat depth. International Journal of Industrial Ergonomics, 27, 207-217. doi: 10.1016/S0169-8141(00)00051-2.

Jongkol, P., & Chatmuangpak, A. (2012). Evaluation of concrete work strain in buildings construction. 2012 Southeast Asian Network of Ergonomics Societies Conference (SEANES), Langkawi, Malaysia, 2012 (pp. 1-6). Langkawi, Malaysia: SEANES. doi: 10.1109/SEANES.2012.6299564.

Junthepa, P., & Nathapindhu, G. (2012). Environment and safety of playgrounds at child care centers supervised by local administrative organizations and primary schools, Thabo District, Nongkhai Province. KKU Journal for Public Health Research, 5, 1-12. (in Thai)

Kittivorakan, N., & Payoongpan, P. (2009). Application of TRIZ in modification of centrifugal broadcaster (Bachelor’s project). Naresuan University. Phitsanulok (in Thai)

Kulem, R., Pochana, K., & Sungkhapong, A. (2014). Match between dimensions of classroom desk and chair and anthropometric data of primary school students: A case study of a school in Songkhla. KKU Engineering Journal, 41(4), 463-471. (in Thai)

Phongpaew, W. (2012). Production capability improvement by applying TRIZ: A case study of plastic injection molding of Polycarbonate optical lenses. TNI Journal of Business Administration and Languages, 1(1), 1-5. (in Thai)

Rattanasupa, B., & Keawwattana, W. (2007). The development of rubber compound based on Natural Rubber (NR) and Ethylene-Propylene-Diene-Monomer (EPDM) Rubber for playground rubber mat. Agriculture and Natural Resources, 41(5), 239-47. (in Thai)

Sanbudda, W. (2017). The study of playground context and play behavior of early childhood: Case study Ram Wittaya Prachanusorn School, Sikhio, Nakhonratchasima. National Conference Home Bhumi No. 3: Wisdom to the Future Faculty of Architecture Khon Kaen University 15-16 June 2017 (pp. 277-290). Khon Kaen: Khon Kaen University (in Thai)

Sanders, M. S., & McCormick, E. J. (1993). Human factors in engineering and design (7th ed.). New York: Mcgraw-Hill Book Company.

Shupmahasan, S., & Sirisuwan, P. (2020). Factors contributing to accidents in the performance of the operation team technicians installing the company’s cable: A case study. EAU Heritage Journal Science and Technology, 14(2), 278–289. (in Thai)

Sub-Committee on Protection of Playground and its Equipment and Devices. (2008). Handbook of safe child playground. Bangkok: Consumer Protection Board. (in Thai)

U.S. Consumer Product Safety Commission. (2015). Handbook for public playground safety, pub. no. 325 Maryland. Retrieved from https://www.cpsc.gov/s3fs-public/325.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-12