การเพิ่มความมั่นคงในการบริหารจัดการกุญแจลับ สำหรับการกู้คืนกุญแจ แบบหลายเอเจนต์ที่อาศัยศูนย์กลางในการกู้คืนกุญแจ

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ กันยะมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • จำรูญ จันทร์กุญชร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ความมั่นคงปลอดภัย, กุญแจลับ, กู้คืนกุญแจ, เอเจนต์, ศูนย์กลางการกู้คืนกุญแจ

บทคัดย่อ

ระบบการกู้คืนกุญแจลับ เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในยุคการสื่อสารดิจิทัล ที่มีการนำวิทยาการเข้ารหัสลับมาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล และรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกุญแจลับ (Secret Key--Ks) รูปแบบใหม่ที่มีความมั่นคงปลอดภัย สำหรับการกู้คืนกุญแจแบบหลายเอเจนต์ (M-KRA) ที่อาศัยศูนย์กลางการกู้คืนกุญแจ (Key Recovery Center--KRC) ทำงานร่วมกับเอเจนต์ (Key Recovery Agent--KRA) โดยเรียกรูปแบบนี้ว่า E-SHAM-KRS เป้าหมายการวิจัยคือ การนำเสนอกระบวนการจัดการกุญแจลับ Ks ให้เป็นความลับระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง หรือ หน่วยงานที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ทำให้การกู้คืนกุญแจ Ks มีความมั่นคงปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนผู้ใช้งานมีความเป็นส่วนตัว และรองรับการกู้คืนกุญแจได้ แม้ในกรณีที่มี KRA ในกลุ่มการกู้คืนล่ม โดยทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ จากการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการกุญแจลับ Ks ของ E-SHAM-KRS โดยได้ทำการเปรียบเทียบกับระบบเดิม พบว่า (1) มีความสามารถในการรักษาความลับของกุญแจ Ks ทำให้กุญแจมีความปลอดภัยสูง ไม่มีโอกาสเกิดการรั่วไหลของกุญแจ Ks ไปยังบุคคลที่สาม (2) ฟิลด์ในการกู้คืนกุญแจ มีขนาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มีความมั่นคงและมีความเป็นส่วนตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และ (3) ใช้เวลาในการสร้างฟิลด์ในการกู้คืนกุญแจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพื่อรองรับการจัดการกุญแจ Ks ให้มีความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ E-SHAM-KRS ได้แก้ไขจุดอ่อนด้านการรั่วไหลของรหัสกุญแจลับได้ ส่งผลให้กระบวนการกู้คืนกุญแจมีความน่าเชื่อถือ และทำงานได้เต็มประสิทธิภาพในด้านความมั่นคงปลอดภัย

References

Chang, W., & Tsay, R. (2023). A secure and reliable private key recovery method. Proceedings of International Conference on Consumer Electronics (pp. 535-536). Taiwan: Pingtung.

D’Arco, P. (2001). On the distribution of a key distribution center. Proceedings of Theoretical Computer Science (pp. 357–369). Italy: Torino.

Denning, D., & Branstad, D. (1997). A taxonomy for key recovery encryption systems. Communications of the ACM, 39(3), 34–40. https://doi.org/10.1145/227234.227239

Huadpaknam, P., Pirak, C., & Mathar, R. (2014). A novel security key recovery framework for smart grid applications. Proceedings of Asia-Pacific Conference on Communication (pp. 387-390). Pattaya: IEEE (in Thai)

Hughes, L.E. (2022). Basic cryptography: Symmetric Key Encryption. In L. E. Hughes (Ed.) Pro Active Directory certificate sServices (pp. 3-17). Berkeley, CA: Apress.

Kanyamee, K., & Sathitwiriyawong, C. (2010). A simple high-availability multiple-agent key recovery system. Proceedings of International Conference for Internet Technology and Secured Transactions (pp.734-739). London: IEEE

Kanyamee, K., & Sathitwiriyawong, C. (2010). High-availability decentralized multi-agent key recovery system. Proceedings of International Conference on Computer and Information Science (pp. 290-294). Shanghai: IEEE

Kanyamee, K., & Sathitwiriyawong, C. (2014). High-availability decentralized cryptographic multi-agent key recovery. International Arab Journal of Information Technology (IAJIT), 11(1), 52-55. https://www.iajit.org/portal/PDF/vol.11,no.1/4749.pdf

Kim, T., Kim, W., Seo, D., & Lee, I. Y. (2021). A secure encapsulation schemes based on Key Recovery System. In Y. Park, D. Jadav and T. Austin (Eds.), Proceedings of Silicon Valley Cybersecurity Conference (pp. 25-37). Cham: Springer International Publishing.

Kim, T., Kim, W., Seo, D., & Lee, I. Y. (2021). Secure encapsulation schemes using key recovery system in IoMT environments. Sensors Journal, 21(10), 1-23. https://doi.org/10.3390/s21103474

Kuacharoen, P. (2014). Generating data recovery keys using Chinese Remainder Theorem. Journal of Computational and Theoretical Nanoscience, 20(10), 2157-2161. https://doi.org/10.1166/asl.2014.5650

Lee, Y. C., & Laih, C. S. (1997). On the key recovery of the key escrow system. Proceedings of 13th Annual Computer Security Applications Conference (pp. 216–20). San Diego: IEEE.

Lim, S., Hani, H., Kim, M., & Kim, T. (2001). In design of key recovery system using multiple agent technology for electronic commerce. Proceedings of the Industrial Electronics (pp. 1351-1356). Korea South: IEEE.

Lim, S., Kang, S., & Sohn, J. (2003). Modeling of multiple agent based cryptographic key recovery protocol. Proceedings of 19th Annual Computer Security Applications Conference (pp. 19–28). USA: IEEE

Shamir, A. (1979). How to share a secret. Info & Claims Communications of the ACM, 22(11), 612-623. http://dx.doi.org/10.1145/359168.359176

Slagell, A., Bonilla, R., & Yurcik, W. (2006). A survey of PKI components and scalability issues. Proceedings of the 25th IEEE International Performance Computing and Communications Conference, IPCCC 2006, April 10-12, 2006 (p. 10). Arizona: IEEE

Smart, N. (2016). Cryptography made simple (Information Security and Cryptography). Berlin: Springer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-07