การประยุกต์ใช้ผังแสดงความสัมพันธ์ตามหลักการวิศวกรรมอุตสาหการ ในการจัดผังสนามเด็กเล่น

ผู้แต่ง

  • พรศิริ จงกล สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ธนาคาร ศรีมะเริง สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ภาคิน อัตตวิริยะสุวร สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • มนัญชยา ถาวรสวัสดิ์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • รชนีกร พลปัถพี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ผังแสดงความสัมพันธ์, การจัดวางผัง, การออกแบบสนามเด็กเล่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาลักษณะการจัดวางเครื่องเล่นในพื้นที่สนามเด็กเล่นในปัจจุบัน (2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเครื่องเล่น และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงการจัดวางเครื่องเล่นในพื้นที่สนามเด็กเล่น งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งที่เป็นกรณีศึกษา ข้อมูลเบื้องต้นของสนามเด็กเล่น ได้แก่ ขนาดพื้นที่ของสนามเด็กเล่นในปัจจุบัน จำนวนเครื่องเล่นแต่ละชนิด ระยะห่างระหว่างเครื่องเล่นแต่ละชนิด รวมถึง บันทึกภาพของสนามเด็กเล่น จากนั้นใช้ผังแสดงความสัมพันธ์ตามหลักของวิศวกรรมอุตสาหการในการวิเคราะห์ตำแหน่งการจัดวางพื้นที่ของเครื่องเล่นและองค์ประกอบอื่น ๆ จากนั้นคำนวณพื้นที่สำหรับเครื่องเล่นแต่ละชนิดตามหลักความปลอดภัยในสนามเด็กเล่น แล้วเสนอแนวทางการปรับปรุงการจัดวางเครื่องเล่น ผลการศึกษาพบว่า สนามเด็กเล่นมีพื้นที่รูปตัวแอล 234.09 ตารางเมตร มีเครื่องเล่นดังนี้ ชิงช้า 5 ชุด กระดานลื่น 4 ชุด กระดานหก 2 ชุด ชุดปีนป่ายรูปรถไฟ 3 ชุด ชุดปีนป่ายรูปโค้ง 1 ชุด และพื้นที่โล่ง ผลการใช้ผังแสดงความสัมพันธ์พบว่า เครื่องเล่นที่ส่วนประกอบเคลื่อนไหวได้เช่น ชิงช้าและกระดานหกจะมีความสัมพันธ์ในระดับ X กับเครื่องเล่นอื่นๆมากที่สุด หมายความว่าชิงช้าและกระดานหกไม่ควรอยู่ใกล้กับเครื่องเล่นอื่น แนวทางในการปรับปรุง คือ จัดวางชิงช้าและกระดานหกให้ห่างจากเครื่องเล่นอื่น 1.8 เมตร นอกจากนี้ไม่ควรมีต้นไม้ในบริเวณสนามเด็กเล่นเพื่อป้องกันการสะดุดรากไม้หรือกระแทกกับต้นไม้

References

Bunma, M., Lawanvadeekul, S., Hunyala, J., Yimlamai, W., & Samuttalak, K. (2017). Environmentand safety of outdoor playground equipment for pre-school child. EAU Heritage Journal Science and Technology, 11(2), 146-162. (in Thai)

Chongjaroenjai, P., Attawiriyasuworn, P., & Jongkol, P. (2023). Study of accidents from playing swing of primary students in Nakhon Ratchasima Province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 17(2), 201-214 (in Thai)

Junthepa, P., & Nathapindhu, G. (2012). Environment and safety of playgrounds at child care centers supervised by local administrative organizations and primary schools, Thabo District, Nongkhai Province. KKU Journal for Public Health Research, 5, 1-12. (in Thai)

Muther, R. (1973). Systematic layout planning. Boston, MA: Cahners Books.

Naqvi, S. A. A., Fahad, M., Atir M., Zubair, M., & Shehzad, M. M. (2016) Productivity improvement of a manufacturing facility using systematic layout planning. Cogent Engineering, 3(1), 1207296. https://doi.org/10.1080/23311916.2016.1207296

Phetliap, W., Keankarn, P., & Lertpinyochaithaworn, N. (2020). Working environment and personal protective equipment use among workers in automotive repair shops, Muang District, Nakhon Ratchasima Province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 14(3), 127–138. (in Thai)

Sanbudda, W. (2017). The study of playground context and play behavior of early childhood: Case study Ram Wittaya Prachanusorn School, Sikhio, Nakhonratchasima. National Conference “Home Bhumi No. 3: Wisdom to the Future” Faculty of Architecture Khon Kaen University 15-16 June 2017 (pp. 277-290). Khon Kaen: Khon Kaen University (in Thai)

Shupmahasan, S., & Sirisuwan, P. (2020). Factors Contributing to Accidents in the Performance of the Operation Team Technicians Installing the Company’s Cable: A Case Study. EAU Heritage Journal Science and Technology, 14(2), 278–289. (in Thai)

Sub-Committee on Protection of Playground and Its Equipment and Devices. (2008). Handbook of safe child playground. Bangkok: Consumer Protection Board. (in Thai)

Tompkins, J. A., White, J. A., Bozer, Y. A., Frazelle, E. H., Tanchoco, J. M. A., & Trevino, J. (2010). Facilities planning (4th ed.). New York, NY: John Wiley & Sons.

Veesommai, U. (1990). Children’s play spaces. Bangkok. SarnMaunchon Publishing. (in Thai)

U.S. Consumer Product Safety Commission. (2015). Public playground safety handbook. Bethesda, MD: U.S. Consumer Product Safety Commission

Weng, S. J., Tsai, M. C., Tsai, Y. T., Gotcher, D. F., Chen, C. H., Liu, S. C., Xu, Y. Y., & Kim, S. H. (2019). Improving the efficiency of an emergency department based on activity-relationship diagram and radio frequency identification technology. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16(22), 4478. https://doi.org/10.3390/ijerph16224478

Western Financial Group. (2013). Hospitality insurance program public playground safety. High River, NB: Western Financial Group

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-07