การออกแบบและสร้างต้นแบบชุดฝึกซ้อมการขับขี่สำหรับรถประหยัดเชื้อเพลิง

ผู้แต่ง

  • วสวัตติ์ เสาวดี กองวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • ชวิน จันทรเสนาวงศ์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

รถประหยัดเชื้อเพลิง, อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง, ความเร็วเฉลี่ยที่ขับขี่

บทคัดย่อ

การออกแบบและสร้างต้นแบบชุดฝึกซ้อมการขับขี่สำหรับรถประหยัดเชื้อเพลิงนั้น เป็นการจำลองการขับขี่เพื่อเปรียบเทียบอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ขับขี่บนเครื่องทดสอบกับการขับขี่บนสนามจริง โดยการชั่งน้ำหนักเชื้อเพลิงที่ใช้ก่อน-หลังการทดสอบ เพื่อให้ทราบถึงอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถประหยัดเชื้อเพลิงก่อนไปแข่งขันจริง โดยการทดสอบแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอน 1 ทดสอบขับขี่โดยทำการปรับเพิ่ม-ลด แรงกดของชุดสร้างแรงต้านที่ล้อช่วยแรงที่ 0 5 10 15 และ 20 นิวตัน และนำผลการทดสอบมาเปรียบเทียบกับผลการแข่งขันครั้งก่อน เพื่อหาค่าแรงต้านจำลองบนเครื่องทดสอบขั้นตอนที่ 2 ทำการขับขี่รถประหยัดที่ความเร็วสูงสุดต่าง ๆ ดังนี้ 50 55 และ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหาความเร็วสูงสุดที่เหมาะสมที่สุดในการขับขี่ ขั้นตอนที่ 3 ทดสอบการขับขี่โดยใช้ข้อมูลการทดสอบในข้างต้น เพื่อเปรียบเทียบดูแนวโน้มอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ยที่ระยะทาง 18 กิโลเมตร ตามกฎกติกาการแข่งขัน จากผลการทดสอบได้ค่าแรงกดที่ชุดสร้างแรงต้านเท่ากับ 6.84 นิวตัน และความเร็วสูงสุดที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วยให้รถมีอัตราประหยัดเชื้อเพลิงมากที่สุด จากผลการทดสอบในระยาทาง 18 กิโลเมตรพบว่าอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 51.48 กรัม (265.80 กิโลเมตรต่อลิตร) ดังนั้นในส่วนของการปรับปรุงพัฒนาส่วนต่าง ๆ ในอนาคตนั้น ผู้วิจัยสามารถใช้ชุดฝึกซ้อมการขับขี่สำหรับรถประหยัดเชื้อเพลิงเพื่อคาดคะเนอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ก่อนจะทำการเข้าแข่งขันจริงเพื่อหาจุดที่ดีที่สุดของการปรับปรุงเพื่อการแข่งขันในครั้งถัดไป

References

Anansaowaphak, B. (2020). Eco Mileage Challenge Vehicle 2020. Nakhon Nayok: Mechanical Engineering Division, Education Division, Chulachomklao Royal Military Academy. (in Thai)

Friction. (2018). Type of friction. Retrieved from https://ngthai.com/science/27846/friction/ (in Thai)

Honda Eco Mileage Challenge. (2023). Competition rules. Retrieved from https://www.thaihonda.co.th/econo-test/FileUploadMain/ImagesUpload/ (in Thai)

IR Sensor. (2022). Digital tachometer using IR sensor with arduino for measuring RPM. Retrieved from https://how2electronics.com/digital-tachometer-ir-sensor-arduino/ (in Thai)

Kaewpra, P., & Tantisuphachai, K. (2020). The body building a semi-automatic fuel-economical artificial car ‘Autokan 1’. Vocational Education Central Region Journal, 4(1), 53–59. (in Thai)

Nimrotham, C., & Koolnapadol, N. (2017). Appropriate Fuel Injection Rate of Econo Car for Competition. The Journal of Industrial Technology Thepsatri Rajabhat University, 12(1), 13-23. (in Thai)

Pavement Friction. (2015). Pavement friction. Retrieved from https://sites.google.com/site/patcharayutchanhom/khwam-seiyd-than-khxng-phiw-thang-pavement-friction

Thanomputra, S. (2006). The development of an economy vehicle for the future: Nontree-Esan. Bangkok: Faculty of Science and Engineering Kasetsart University. (in Thai)

Tinphabath, P. (2006). Eco power car. Nakhon Nayok: Mechanical Engineering Faculty of Engineering Rajamangala University of Technology Phranakhon. (in Thai)

Types of Bicycle Trainers. (2020). Different types of bicycle trainers. Retrieved from https://alta24.com/th/5-types-of-bike-trainers/

Weight Sensors. (2018). Load cell and HX711 amplifier module. Retrieved from https://blog.thaieasyelec.com/how-to-use-load-cell-and-hx711-amplifier-module/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-07