การติดตั้งและการต่อระบบ Hybrid Off Grid Inverter เพื่อพัฒนาโรงเรือนปิดสำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบอัตโนมัติ
คำสำคัญ:
โรงเรือน, ไฮโดรโปนิกส์, พลังงานแสงอาทิตย์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและพัฒนาสร้างโรงเรือนปิดด้วยวัสดุแผ่นโพลีคาร์บอเนตสีใส โดยมี
การประยุกต์ใช้พลังงานสีเขียวให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คณะผู้วิจัยได้มีการพัฒนาโรงเรือนปิดรูปร่างหลังคาทรงจั่ว มีขนาดความกว้าง 4 เมตร ความยาว 8 เมตร และความสูง 3.40 เมตร โดยมีโครงสร้างหลังคาทำมุมข้างละ 15 องศา เพื่อนำแผงโซลาร์เซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Solar Cells) ขนาด 340 วัตต์ ข้างละ6 แผง รวมทั้งสิ้น 12 แผง โดยแต่ละข้างต่อระบบแบบอนุกรม และนำแต่ละข้างนำมาต่อระบบแบบขนาน โดยผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์ขนาด 5,500 วัตต์ ให้มีการทำงานแบบออฟกริด (Off Grid) โดยไม่ใช้แบตเตอรี่ เพื่อลดปริมาณการใช้งานไฟฟ้า ในช่วงเวลากลางวัน (08.00 น.-17.00 น.) เพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าให้แก่ พัดลมดูดระบายความร้อน ปั๊มพ่นหมอก และปั๊มดูดสารละลายปุ๋ยชนิดเอและปุ๋ยชนิดบี โดยได้ทดลองผลิตผักกรีนโอ๊คไฮโดรโปนิกส์ในแนวตั้ง ระบบกึ่งน้ำลึก (DRFT) และทำการทดสอบหาประสิทธิภาพของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำลัง ผลการทดลองใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดสอบกับพัดลมดูดระบายความร้อนสามารถหมุนทำงานได้ พบว่า ผลิตแรงดันเฉลี่ยอยู่ที่ 226.7 โวลท์ และกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.19 แอมป์ และผลการทดสอบกับปั๊มสูบสารละลายของน้ำปุ๋ยทำงาน พบว่า ผลิตแรงดันเฉลี่ยอยู่ที่ 226.7 โวลท์ และกระแสไฟฟ้าเฉลี่ย อยู่ที่ 1.13 แอมป์ โดยผลการทดลองทั้งสองชนิดนี้ สามารถนำไปควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นภายในโรงเรือนปิดผ่านระบบสมาร์ทโฟนให้ทำงานอัตโนมัติได้ ผลการทดลองผลิตผักกรีนโอ๊ค 2 ครั้ง ในโรงเรือนปิดที่พัฒนาสร้างขึ้นพบว่า จำนวนหลุมปลูกในแนวตั้งที่เหมาะสมคือ 720 หลุมต่อการปลูก1 ครั้ง สามารถผลิตผักกรีนโอ๊คไฮโดรโปนิกส์ในโรงเรือนปิดได้เป็นอย่างดี
References
Bureau of Occupational and Environmental Disease. (2021). Disease and health hazard surveillance, prevention and control for informal workers, situation report on in 2020. Retrieved from http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/galleries3/202105/ (in Thai)
Chaithima, W., Chalerphol, J., Sirisunyaluck, R., & Pastpipatkul, P. (2019). Farmer’s opinions on pesticide free vegetable growing in Saraphi District, Chiang Mai Province. Khon Kaen Agriculture Journal, 47(suppl.1), 191-198. (in Thai)
Jinobua, J. (2016). Aeroponics, growing plants with roots suspended in the air. Chiang Mai: Food Process Engineering Department. Bangkok: School of Agro-Industry Faculty of Agro-Industry Kasetsart University. (in Thai)
Namhomchan, T., & Seriphatthanon, A. (2014). Temperature and relative humidity control system in soilless greenhouses. Cooling type using water evaporation method combined with automatic water mist spray. Using a programmable logic control system. Eau Heritage Journal Science and Technology, 8(1), 98-111. (in Thai)
Nilawong, V (2019). Influence of organicandBio-extractson the growth and yield of Okra, Chinese radish, and kal. Science Journal Ubon Ratchathani University, 21(3), 95-103 (in Thai)
Pincham, K., Urbunnuanchat, M., & Junnapiya, S. (2015). Development of agricultural markets in Education: Research of farmers who produce products that are safe from toxins, Food Safety Project. Central vegetable and fruit market, Ratchaburi Province. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Edition, 4(2), 122-132. (in Thai)
Pinthong, T. (2014). Study of hot and cold water heating systems using thermoelectrics with solar cells. Nakhon Sawan: Department of Industrial Technology Faculty of Agricultural Technology and Industrial Technology Nakhon Sawan Rajabhat University. (in Thai)
Sitawan, D. (2015). Thermoelectric technology. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Sukprapaphon, B. (2010). Electrical energy from solar energy and solar cell system design. Faculty of Industrial Technology. Chiang Rai Rajabhat University. Synchrotron Light Research Institute (M.P.P.). Synchrotron Light Research Institute. Retrieved from https://www.slri.or.th (23 February 2016). (in Thai)