ก๊าซชีวภาพจากบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานผลิตน้ำประปา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เชิดชัย สมบัติโยธา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ถวิล แสนตรง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • นุกูล กุดแถลง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ก๊าซชีวภาพ, น้ำเสียจากกระบวนการประปา, กระบวนการจ่ายน้ำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และผลิตก๊าซชีวภาพจากบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานผลิตน้ำประปา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยนำมูลวัวสดซึ่งเป็นมูลของวัวเนื้อมาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ และเพื่อเป็นแหล่งสาธิตการเรียนรู้การใช้พลังงานทดแทนที่สามารถใช้งานได้จริงและเป็นแนวทางในการพัฒนาพลังงานทางเลือกต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้สร้างถังผลิตก๊าซชีวภาพจากบ่อบำบัดน้ำเสีย ในการวิจัยทำการทดลอง 4 ครั้ง ในแต่ละครั้งเก็บข้อมูลทุกวันติดต่อกัน ระยะเวลาทั้งหมด 6 ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนในการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียที่ดีที่สุด คือ น้ำเสีย 200 ลิตรต่อมูลวัว 200 กิโลกรัม ได้ปริมาณก๊าซสูงสุดถึง 3,429 ลิตร เวลาการหมัก 58 วัน การจุดติดไฟนาน 171.39 นาที รองลงมา คือ อัตราส่วน น้ำเสีย 200 ลิตรต่อมูลวัว 150 กิโลกรัม ได้ปริมาณก๊าซ 1,656 ลิตร เวลาในการหมัก 46 วัน การจุดติดไฟนาน 83.07 นาที และอัตราส่วนน้ำเสีย 200 ลิตรต่อมูลวัว 100 กิโลกรัม ได้ปริมาณก๊าซ 898 ลิตร เวลาในการหมัก 29 วัน มีการจุดติดไฟนาน 45.54 นาที ส่วนอัตราส่วนที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด คือ น้ำเสีย 200 ลิตรต่อมูลวัว 5 กิโลกรัม ได้ปริมาณก๊าซชีวภาพ 522 ลิตร เวลาในการหมัก 17 วัน มีการจุดติดไฟนาน 26.55 นาที ตามลำดับ การศึกษาองค์ประกอบของก๊าซ พบว่า ก๊าซมีเทน (CH4) มีปริมาณก๊าซสูงสุดค่าเฉลี่ยเท่ากับ 56.96% รองลงมา คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.44% และก๊าซอื่น ๆ (other gases) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.28% และก๊าซออกซิเจน (O2) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.42% ส่วนก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) มีปริมาณก๊าซน้อยที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 232.2 ppm ตามลำดับ

References

Department of Alternative Energy Development and Energy Conservation. (2009). Energy conservation. Bangkok: Ministry of Energy. (in Thai)

Department of Alternative Energy Development and Efficiency. (2020). Biogas production from livestock farm and industrial waste. Retrieved from http://www2.dede.go.th/km_ber/Attach/Biogas-present.pdf. (in Thai)

Department of Alternative Energy Development and Efficiency. (2019). Biogas lants. Retrieved from http://thaitapiocastarch.makewebeasy.com/customize-การผลิตแก๊สชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียในกระบวนการผลิต-28936-1.html. (in Thai)

Department of Alternative Energy Development and Energy Conservation. (2012). The utilization of bioenergy technology. Bangkok: Ministry of Energy. (in Thai)

National Research Council of Thailand. (2012). Guidelines for Evaluating Research Proposals from Government Agencies for the Fiscal Year 2014 Budget, as resolved by the Cabinet. Bangkok: National Research Council of Thailand (in Thai)

Nuansawan, N., & Sawatdee, V. (2018). Biogas production from wastewater treatment technology. The Journal of Industrial Technology, 14(1), 74-75. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26