การวิเคราะห์การจราจรคนเดินเท้าในสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ : กรณีศึกษาสถานีรถไฟฟ้าสยาม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สายชล ผลโพธิ์ นักศีกษาปริญญาเอก วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศุภรัชชัย วรรัตน์ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การจราจรคนเดินเท้า, แบบจำลอง, NFPA 130, PTV Viswalk, สถานีรถไฟฟ้า

บทคัดย่อ

แนวโน้มของพลเมืองที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นทำให้ความหนาแน่นของพื้นที่ไม่อาจขยายตัวออกได้ส่งผลให้รถยนต์ส่วนบุคคลและระบบขนส่งสาธารณะทางถนนไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรระบบขนส่งทางรางจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมส่วนประกอบที่สำคัญของโครงการรถไฟฟ้าที่ช่วยให้โครงการมีประสิทธิภาพคือสถานีรถไฟฟ้าที่ใช้ในการจอดรับส่งผู้ใช้บริการ งานวิจัยนี้ มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการจราจรคนเดินเท้าในสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ โดยการใช้แบบจำลองสถานการณ์ ซึ่งแบบจำลองสามารถแสดงผลโครงข่ายการจราจรและรูปแบบการเดินทาง ของคนเดินเท้าให้สอดคล้องกับพื้นที่จริงได้โดยอาศัยข้อมูลนำเข้าที่ตรงกับสภาพพื้นที่จริง ให้ทราบถึงรูปแบบของชานชาลาแต่ละประเภททั้งแบบ 2 ชั้น และแบบ 3 ชั้น ที่มีรางรถไฟฟ้าอยู่กลางสถานีและแบบรางรถไฟฟ้าอยู่ริมสถานีที่มีจุดเด่นและจุดด้อยในการใช้เวลาเดินทางของผู้โดยสารภายในสถานีของแต่ละแบบ การวิจัยจะทำการศึกษาสถานีรถไฟฟ้าในแต่ละแบบเพื่อเปรียบเทียบให้ทราบถึงรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้งานโดยมีรูปแบบชานชาลาทั้งหมด 6 รูปแบบและใช้สถานีสยามเป็นต้นแบบในการสร้างแบบจำลองทั้งจำนวนผู้โดยสารขนาดความกว้างและความยาวทำการจำลองด้วยแบบจำลอง (PTV VISSIM) โดยการจำลองการเดินทางภายในสถานีแบ่งเป็น 3 แบบ แบบที่ 1 เป็นการเดินลงจากชานชาลาเพื่อต่อรถขนส่งสาธารณะ แบบที่ 2 เป็นการเดินขึ้นชานชาลาเพื่อขึ้นรถไฟฟ้าและแบบสุดท้ายเป็นแบบผู้โดยสารเดินขึ้น-เดินลง นำแบบจำลองที่ได้มาปรับเทียบกับข้อมูลที่สำรวจจากสถานที่จริง ผลการวิจัยแบบที่ 1 เดินลงอย่างเดียว ชานชาลาแบบ 2 ชั้น รูปแบบที่ 1 และ ชานชาลาแบบ 3 ชั้นรูปแบบที่ 6 ใช้เวลาน้อยสุด แบบที่ 2 เดินขึ้นอย่างเดียว ชานชาลาแบบ 2 ชั้นรูปแบบที่ 1 และ ชานชาลาแบบ 3 ชั้นรูปแบบที่ 6 ใช้เวลาน้อยสุด แบบที่ 3 เดินขึ้น-ลง ชานชาลาแบบ 2 ชั้น รูปแบบที่ 2และชานชาลาแบบ 3 ชั้นเป็นรูปแบบที่ 5 ใช้เวลาน้อยสุด

References

BTS E-Library. (2020). Mass rapid transit master. Retrieved from https://www.bts.co.th/library/system-design.html/Mass Rapid Transit Master. (in Thai)

Helbing, D., & Molnar, P. (1995). Social force model for pedestrian dynamics. Physical Review E, 51(5), 4282-4286. https://doi.org/10.1103/PhysRevE.51.4282

Inpayung, N. (2016). Assessing accessibility of transit terminal for supporting urban railway system development research project income from government subsidies (Research report). ChonBuri: ChonBuri Burapha University. (in Thai)

Khatiyasoontron, K., & Kronpraser, N. (2019). Evaluation of mass rapid transit ticket service. Engineering Journal Chiang Mai University, 26(1), 121–134. (in Thai)

Kirimatthong, M., Pitchayapan, P., & Kornprasert, N. (2020). Service time evaluation for terminal screening at Chiang Mai International Airport during normal and new normal condition. The 25th National Convention on Civil Engineering (pp. 1-8). Chonburi: National Convention on Civil Engineering (in Thai)

Sun, L., Yuan, G., Yao, L., Cui, L., & Kong, D. (2021). Study on strategies for alighting and boarding in subway stations. Physica A, 583, 126302. https://doi.org/10.1016/j.physa.2021.126302

Noiruen, T., Tajumpa, P., & Pantasiri, S. (2020). A study pedestrian behavior crossroads at signal light: Case study in Chiang Mai. National Convention on Civil Engineering, 37, 1-12. (in Thai)

Parthiban, P., & Archana, S. (2020). Pedestrian flow and capacity analysis at railway station. Proceeding of National Conference on Emerging Trends in Civil Engineering (pp. 316–325). AIJR Kollam, Kerala, India Publisher. https://doi.org/10.21467/proceedings.112.65

Petchan, P., & Karoonsoontawong, A. (2020). Development of simulation for queuing system at Saphan-Taksin BTS station by using PTV Viswalk. Kasem Bundit Engineering Journal, 10(3), 24–45. (in Thai)

Loa, S. M., Wanga, W. L., Liua, S. B., & Mab. J. (2014). Using agent-based simulation model for studying fire escape process in Metro Stations. Procedia Computer Science, 32, 388–396. doi: 10.1016/j.procs.2014.05.439

Srithaso, P., & Karunsunthawong, A. (2021). Development of passenger emergency evacuation model: A case study of Chatuchak park MRT station. The 26th National Convention on Civil Engineering. Online Conference (p. 27). https://oa.mg/work/3175246734 (in Thai)

The Mass Rapid Transit network in Thailand. (2010). Mass rapid transit master plan in Bangkok metropolitan region. Retrieved from https://th.wikipedia.org/wikiMassRapidTransitMasterPlaninBangkokMetropolitanRegion.

Weerawatand, W., & Thongboonpien, T. (2018). Pedestrian transit simulation of feeder system case study of Tao Poon Station. The Journal of Industrial Technology, 14(1), 40-49. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27