ฝึกสมองให้มองแต่ความสุข

ผู้แต่ง

  • ประภาพร กุลลิ้มรัตน์ชัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

จิตวิทยาประยุกต์, การดำเนินชีวิต, ความสุข

บทคัดย่อ

เรื่องราวในแต่ละวันที่เราเจอล้วนทำให้เราเกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไม่ทุกข์ก็สุข ในวันที่มีแต่เรื่องราวดี ๆ ความสุขเกิดขึ้นไม่ยาก แต่ในวันที่เจอเรื่องร้าย ๆ เราจะทำอย่างไรให้ยังคงรู้สึกมีความสุข เคนอิจิโร่ โมงิ นักวิชาการด้านสมองและนักวิจัยอาวุโสของ Sony Computer Science Laboratories บอกวิธีที่จะทำให้เรา ยังคงมีความสุขเสมอไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สิ่งนั้น คือ การฝึกสมองให้อยู่ในสภาพที่ตระหนักรู้ถึงความสุข “ความสุขไม่ใช่สิ่งที่ตกหล่นอยู่ตามพื้นหรือตกหล่นลงมาจากฟากฟ้า ตราบใดที่สมองอยู่ในสภาพที่ตระหนักรู้ถึงความสุขอยู่ การคิดของเราก็จะจำกัดอยู่ในโหมดของความสุขไปด้วย ไหน ๆ เราก็มีชีวิตกันเพียงครั้งเดียว แทนที่เราจะมัวคร่ำครวญว่าชีวิตเต็มไปด้วยความเครียด แล้วคุณไม่อยากใช้ชีวิตแบบที่ได้สัมผัสถึงรสแห่งความสุขในทุก ๆ วันบ้างหรือ” เคนอิจิโร่รวบรวมวิธีฝึกสมองจากการเป็นนักวิชาการด้านสมองและประสบการณ์ส่วนตัวจนได้เทคนิคที่ทุกคนทำตามได้ บางเทคนิคเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป เช่น พูดคำว่า “โอเค พอเท่านี้แหละ!” ให้มาก เพราะการคร่ำเคร่งอยู่กับเรื่องที่ทำให้เครียดไม่มีอะไรดีขึ้น มิหนำซ้ำยังทำให้จิตใจแย่ลง เพราะจิตใจคนเราก็คล้ายกับสปริง เมื่อเจอเรื่องเครียดก็จะหดตัว หากหดตัวชั่วครู่คงไม่เป็นไร แต่ถ้าสปริงหดตัวแล้วไม่ยอมยืดออกอีกต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น หรือเทคนิคที่เราคาดไม่ถึง เช่น ใช้คำพูดหรือการกระทำสั่งให้สมองมีความสุข เพราะสองสิ่งนี้ คือ การตัดสินตัวเองให้สมองรับรู้ทีละน้อย การพูดสิ่งไม่ดีจึงส่งผลให้สมองรับรู้ว่านี่ คือ สิ่งที่เราต้องรู้สึกหรือเป็น จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเราไม่ควรพูดคำว่า เบื่อ น่ารำคาญ ไม่สบาย เพราะในไม่ช้าสมองจะจัดการให้เราเป็นอย่างที่พูดจริง ๆ

References

Mogi, K. (2018). Train your brain to focus on happiness (2th ed.) (Kisara Rattanapirat Kudo, translator). Bangkok: Amarin How To. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-10