ความชุกภาวะโลหิตจาง และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาเพศหญิง ระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ฐมาพร เชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ภาวะโลหิตจาง, ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง, เจตคติเกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความชุกภาวะโลหิตจางและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง เจตคติต่อภาวะโลหิตจาง กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพศหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 304 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจในการให้ข้อมูลและรับการเจาะเลือด (volunteer sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลภาวะสุขภาพทั่วไป ความรู้ เจตคติเกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง พฤติกรรมการบริโภค และเจาะเลือดนำส่งห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์นับเม็ดเลือดแดงเบื้องต้นด้วยการแจกแจงความถี่แบบสองทาง กลุ่มตัวอย่างมีค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดบ่งชี้ภาวะปกติร้อยละ 54.94 ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร้อยละ 36.18 ภาวะพาหะธาลัสซีเมียร้อยละ 7.24 และภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินร้อยละ 1.32 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าความรู้ เจตคติต่อภาวะโลหิตจางไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผลการวิจัยเสนอแนะโปรแกรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก การให้คำปรึกษาสุขภาพในการตรวจวิเคราะห์ชนิดของฮีโมลโกลบิน และกลุ่มที่มีปัญหาการมีประจำเดือน และศึกษาโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของนักศึกษาเพศหญิง ในการทำวิจัยครั้งต่อไป

References

Bunworasate, U. (2008). Hematology in practice. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Centers for Disease Control and Prevention. (1998). Recommen-dations to prevent and control Iron deficiency in the United States. Morbidity and Mortality Weekly Report (Online), 47(3), 1-36. http://aepo-xdv-www.epo.cdc.gov/wonder/prevguid/m0051880

Daniel, W. W. (2010). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences (9th ed.). NJ: John Wily & Sons.

Fraser, I. S., Warner, P., & Marantos, P. A. (2001). Estimating menstrual blood loss in women with normal and excessive menstrual fluid volume. Obstetrics and Gynecology, 98(5), 806–814. https://doi.org/10.1016/s0029-7844(01)01581-2

Gardner, W., & Kassebaum, N. (2020). Global, regional, and national prevalence of anemia and its causes in 204 countries and territories, 1990–2019. Current Developments in Nutrition, 4(Suppl 2), 830. https://doi.org/10.1093/cdn/nzaa053_035

Grounlund, N. (1985). Measurement and evaluation in teaching. New York: McMillan Publishing Company.

Kanitsap, N. (2017). Diagnostic hematology. Pathum Thani: Faculty of Medicine, Thammasat University. (in Thai)

Ninkron, P. (2019). The Innovation of food consumption and exercise for promoting the health of children and youth at the buddhist studies center, Prongmadua Pagoda, Nakhon Pathom Province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 13(2), 213–227. (in Thai)

Office of Academic and Registration. (2021). Statistics of the number of current students. Retrieved from http://aar.bsru.ac.th/statistic/. (in Thai)

Roscoe, J. T. (1975). Fundamental research statistics for the behavioral sciences. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49–60. https://api.semanticscholar.org/CorpusID:59042188

Saksri, Y., Naka, K., & Sae-Sia, W. (2018). Relationship between knowledge, attitude, and practice towards prevention of surgical site infection during intraoperative period among perioperative nurses (Publication Number 7681). Songkla: Prince of Songkla University. (in Thai)

Uchida T. (1995). Overview of iron metabolism. International journal of hematology, 62(4), 193–202. https://doi.org/10.1016/0925-5710(95)00419-x

Virutsetazin, K., & Wimonwatmethee, T. (2006). A study of anemia among physical education students Srinakharinwirot University (Research report). Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)

World Health Organization. (2021). Anemia. Retrieved from https://www.who.int/health-topics/anaemia#tab=tab_1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26