ผลของการใช้น้ำมันนวดจากสารสกัดแฝกหอมร่วมกับการนวดไทยแบบราชสำนัก ต่อการรักษาความตึงตัวของกล้ามเนื้อหลังส่วนบน

ผู้แต่ง

  • สลิลทิพย์ กุลศิลารักษ์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม
  • แสงสิทธิ์ กฤษฎี สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม
  • สิริภารัสมิ์ อัศวปัญญาพร สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

แฝกหอม, , น้ำมันหอมระเหย, น้ำมันนวด, สมุนไพร, ผลิตภัณฑ์, สารสกัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้น้ำมันนวดจากสารสกัดแฝกหอมร่วมกับการนวดไทยแบบราชสำนัก ก่อนและหลังการรักษา ต่อความตึงตัวของกล้ามเนื้อหลังส่วนบน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครอายุ 18-50 ปี งานวิจัยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด จำนวน 30 คน จะได้รับการนวดแบบราชสำนักกับแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ครั้งละ 45 นาที รักษาทั้งหมด 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบประเมินระดับความเจ็บปวด และแบบบันทึกความแข็งของเนื้อเยื่อ ผลที่ได้จากการศึกษานำไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ด้วยค่า Paired T–test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.33 มีอายุอยู่ในช่วง 29-39 ปี ระดับความปวดเฉลี่ยหลังการรักษาลดลง (2.27±0.45) เมื่อเทียบกับระดับความปวดเฉลี่ยก่อนการรักษา (5.97±0.67) หลังจากนวดตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึง 3 ระดับความปวดเฉลี่ยลดลงในทุกครั้งเมื่อเทียบกับครั้งก่อนหน้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยคะแนนความแข็งของเนื้อเยื่อหลังการรักษาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลระดับความปวดที่ลดลง และค่าคะแนนความแข็งของเนื้อเยื่อที่ลดลง สรุปได้ว่า การนวดไทยแบบราชสำนักร่วมกับการใช้น้ำมันนวดจากสารสกัดแฝกหอม สามารถบรรเทา รักษา ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนได้ ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการสนับสนุนการเลือกใช้การนวดไทยแบบราชสำนักร่วมกับการใช้น้ำมันนวดจากสารสกัดแฝกหอม ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาทางคลินิกสืบไป

References

Bunpean, A., Cherdchoterakhun, W., & Tantayothin, S. (2018). Effect of Plai oil and palm oil massage on neck and shoulder pain in students of Kanchanabhishek Institute of Medical and Public Health Technology. Advanced Science, 18(1), 17-30.

Faculty of Pharmaceutical Sciences Ubon Ratchathani University. (2010). Herbal Medicine Database Faculty of Pharmaceutical Sciences Ubon Ratchathani University. Retrieved from https://apps.phar.ubu.ac.th/thaicrudedrug/main.php?action=viewpage&pid=89

Kate, S. (2010). Prevalence and Related Factors of Musculoskeletal Discomfort Among Thai-Massage Workers (Thesis’s master). Preventive and Social Medicine Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. (in Thai)

Kraiwat, T. (2009). Concept in painmanagement. In P. Intarakamhang. (Ed.). Textbook of Medicinem Rehabilitation. Bangkok: Textbook Project, Phramongkutklao College of Medicine. (in Thai)

Lima, G. M., Quintans-Júnior, L.J., Thomazzi, S.M., Almeida, EMSA., Melo, M.S., Serafini, M. R., ……, Moreira, J. F., & Araújo, A. A. S. (2012). Phytochemical screening, antinociceptive and anti-inflammatory activities of Chrysopogon zizanioides essential oil. Brazilian Journal of Pharmacognosy, 22(2), 443-450. https://doi.org/10.1590/S0102-695X2012005000002

Phuthaprom, K., Rangchayanit, C., & Phalasai, P. (2014). Effects of Thai massage on soft tissue stiffness and muscle flexibility (Thesis’s master). Faculty of Medical Technology, Khon Kaen University. Khon Kaen. (in Thai)

Pratipavanit, P. (2551). Traditional massage difficult stylein difficult situation. The essence of pain management. Bangkok: Amarin Printing and Publishing. (in Thai)

Prasert, R., Paungmali, A., & Uthaikhup, S. Pressure pain thresholds and psychological features in elders with chronic idiopathic neck pain. Journal of Medical Technology and Physical Therapy, 25(2), 203-211. (in Thai)

Prasopa, S. (2020). The effect of neck and shoulder massage combined with herbal compress on pain of Muscular pain in people with shoulder pain, scapula and nape of the neck from muscle pain syndrome and fascia of Patients in Na Mo Ma Subdistrict, Mueang District, Amnat Charoen Province. National Academic Conference Dhurakij Pundit University. Bangkok: Dhurakij Pundit University. (in Thai)

Sattayarom, C., Nitcharot, L. A., & Pieasue, N. (2014). Effect of aroma oil massage and herbal compression with analgesic drug on low back pain and electromyogram of muscle tension in persons with low back pain. Journal of Phrapokklao Nursing College, 25(2), 1-3. (in Thai)

Suay-ngarm, S., Nicharojana, L. O., & Arpanantiku, M. (2017). Effects of neck and shoulder massage combined with medication use on pain and electromyogram biofeedback in persons with neck and scapular pain associated with myofascial pain syndrome. Journal of Phrapokklao Nursing College, 28(2), 42-54. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27