การศึกษาผลของการสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยแฝกหอม ต่ออารมณ์ความรู้สึก การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ

ผู้แต่ง

  • แสงสิทธิ์ กฤษฎี สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม
  • สิริภารัศมิ์ อัศวปัญญาพร สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม
  • สลิลทิพย์ กุลศิลารักษ์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

น้ำมันหอมระเหย, แฝกหอม, ระบบประสาทอัตโนมัติ, การแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียวกันผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยแฝกหอม ต่ออารมณ์ความรู้สึก การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ โดยให้อาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 32 คน อายุ 18-35 ปี ทำการสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยแฝกหอม และทำการบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทอัตโนมัติ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยหลังการได้รับกลิ่นน้ำมันหอมระเหยแฝกหอม ของความดันโลหิตตัวบน 114.50±07.13 mmHg ความดันโลหิตตัวล่าง 77.62±8.73 mmHg อัตราการเต้นของหัวใจ 77.38±5.80 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 17.44±1.01 ครั้ง/นาที เมื่อเทียบกับขณะพักและก่อนสูดดมกลิ่น ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และค่าเฉลี่ยอารมณ์ความรู้สึก ก่อนสูดดมกลิ่นและหลังได้รับกลิ่นน้ำมันหอมระเหยแฝกหอม พบว่า มีความรู้สึกดี รู้สึกสดชื่น รู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกเคลิบเคลิ้ม เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการทดลองสรุปได้ว่าการสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยแฝกหอม ทำให้การเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทอัตโนมัติลดลง และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งการศึกษานี้สามารถนำไปต่อยอดในการใช้เพื่อร่วมเพื่อการรักษาทางเวชกรรมไทยและหัตถเวชกรรรมไทยได้

References

Department of Medical Sciences Ministry of Public Health. (2003). Process toxicology research of herbal research institute. Bangkok: Department of Medical Sciences Ministry of Public Health. (in Thai)

Gupta, R., Sharma, K. K., Afzal, M., Damanhouri, Z. A., Ali, B., Kaur, R., Kazmi, I., & Anwar, F. (2013). Anticonvulsant activity of ethanol extracts of Vetiveria zizanioides roots in experimental mice. Pharmaceutical Biology, 51(12), 1521–1524. https://doi.org/10.3109/13880209.2013.799710

Kamjorn, K. (1999). Basics in nursing: vital signs. Bangkok: Education Division, College of Royal Thai Army Nursing. (in Thai)

Kritsadee, S. (2022). Effects of Nam Prung Product in Suan Sunandha Palace (Vassana Scented Water) Inhalation on Autonomic Nervous System. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal, 17(3), 273-277. (in Thai)

Kritsadee, S. (2018). Suan Sunandha Royal Thai Perfume. 4th International Conference on Research Challenges to Multidisciplinary Innovation RCMI 2018 (pp. 62-64). Bangkok: Sunandha Rajabhat University. (in Thai)

Lima, G. M., Quintans-Júnior, L. J., Thomazzi, S. M., EMSA, A., Melo, M. S., Serafini, M., ……., José Claúdio F., Moreira, J., & Araújo, A. A. S. (2012). Phytochemical screening, antinociceptive and anti-inflammatory activities of Chrysopogon zizanioides essential oil. Brazilian Journal of Pharmacognosy, 22(2), 443-450. https://doi.org/10.1590/S0102-695X2012005000002

Promdao, W., (2015). Suan Sunandha Palace Style Aromatherapy. The 7th Academic Meeting National and International Conference (pp. 391-400). Bangkok: Sunandha Rajabhat University. http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/5-01/article/view/310. (in Thai)

Sayorwan, V. (2011). Effects if some volatile oils in Thailand on physiology and moods (Doctoral dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok. (in Thai)

Sayorwan, V. (2013). Effects of volatile of Buddha’s fingers on autonomic nervous system and moods. Nonthaburi: Kanchanabhisek Institute of Medical and Public Health Technology. (in Thai)

Thai traditional medicine textbook. (2007). Phaetsart Songkroh, Conservation issue 1. Bangkok: Foundation of Thai Traditional medicine. (in Thai)

Veerapan, P., & Khunkitti, W. (2011). In Vitro antioxidant activities of essential oils. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, 7(3), 30-38. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27