การออกแบบและพัฒนาเครื่องอบพร้อมบดสมุนไพรควบคุม โดยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์

ผู้แต่ง

  • ณมน วรธนานุวงศ์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • รังสรรค์ พงษ์พัฒนอำไพ สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การอบแห้ง, ลมร้อน, มอเตอร์กระแสสลับ, ไมโครคอนโทรลเลอร์ , บดสมุนไพร

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันหลายชุมชนมีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามามีบทบาทกับชุมชนมากขึ้น รวมถึงกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้สถานพยาบาลใช้ยาบำบัดโรคควบคู่กับยาแผนปัจจุบันทำให้หลายชุมชนมีการปลูกสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น สามารถแปรรูปเพื่อสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นได้ การแปรรูปสมุนไพรบางชนิดทำให้คุณสมบัติดีขึ้น รวมถึงเพิ่มคุณภาพในการเข้าถึงการรักษาและบรรเทาโรค จึงมีการพัฒนาเครื่องอบแห้งเพื่อศึกษาปัจจัยการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมมอเตอร์ตัวเดียวกันทั้งสร้างการเคลื่อนที่ให้สมุนไพรในระหว่างการอบและการควบคุมความเร็วของมอเตอร์กำลังสูงในการบดพร้อมรวมถึงการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม การเคลื่อนที่ของสมุนไพรเพื่อไล่ความชื้นโดยการควบคุมอุณหภูมิให้มีอัตราการอบแห้งสูงและลดระยะเวลาในการอบแห้งจากการระเหยของไอน้ำได้ดียิ่งขึ้น หากสมุนไพรมีความชื้นสูงจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพของสมุนไพร ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการทำให้สมุนไพรเคลื่อนที่จะทำให้เกิดการกระจาย
ความชื้นที่อบแห้งด้วยอุณหภูมิ 40-70 องศาเซลเซียส เทียบจากระยะเวลาในการอบพร้อมบดด้วยเครื่องกับการอบและบดแบบปกติสามารถลดเวลาได้ตามประเภทของพืชสมุนไพร ทดสอบการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการใช้เทคนิคแบบลีนเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการแปรรูป สามารถลดเวลา กระบวนการทำงานลงคิดอย่างน้อยเป็นร้อยละ 10.98 ขึ้นกับการตั้งอุณหภูมิการควบคุมมอเตอร์กระแสสลับ 1 เฟส สามารถกระจายความชื้นได้พร้อมกับทำการบดจะสูญเสียพลังงานต่ำกว่าการเพิ่มชุดสร้างลมร้อน ในการทดลองกับสมุนไพร 2 ประเภท สรุปได้ว่าระดับความพึ่งพอใจ ลักษณะทั่วไป สี กลิ่นและรส การละลาย มีค่าเฉลี่ยดีมากทุกปัจจัยกับสมุนไพรทั้ง 2 ประเภท การใช้มอเตอร์ขับการเคลื่อนของสมุนไพรทำให้เกิดการแพร่กระจายความร้อนได้ดีกว่าการให้ความร้อนแบบคงที่และสามารถปรับค่าความต้องการของอุณหภูมิได้ตามลักษณะสมุนไพร

References

Bala, B. K., & Janjai, S. (2009). Solar drying of fruits, vegetables, spices, medicinal plants and fish: Developments and Potentials. International Solar Food Processing Conference 2009 (pp. 1-24). Indore, India: Solar Cookers International. https://bit.ly/3kmlF92

Fudholi, A., Ruslan, M. H., Othman, M., Saadatian, O., Zaharim, A., & Sopian, K. (2012). Investigation of Medical Herbs Moisture in Solar Drying. In P. Drahomíra , S. Jiri , P. Marie (Eds.). Advances in Environment, Biotechnology and Biomedicine (pp. 127-131). Texas, USA: Wseas LLC

Riadh, M. H., Ahmad, S. A.B., Marhaban, M. H. & Soh, A. C. (2015). Infrared heating in food drying: An overview. Drying Technology, 33(3), 322–335. https://doi.org/10.1080/07373937.2014.951124

Sharma, G. P., Verma, R. C., & Pathare, P. B. (2005). Thin-layer infrared radiation drying of onion slices. Journal of Food Engineering, 67(3), 361-366. https://doi.org/10.1016/j.jfoodeng.2004.05.002

Somboon, N. (2015). Improving work to reduce waste in the production process of rubber door seals (Master’s thesis). Nakhon Ratchasima Rajabhat University. Nakhon Ratchasima. (in Thai)

Sopajarn, A., Niseng, S., Toyarn, T., & Ritplin, T. (2022). Investigation of piper betle herbal tea drying. RMUTSV Research Journal, 12(1), 171-179. (in Thai)

Thai Industrial Standards Institute (TISI). (2019b). Community Standards for instant stevia powder 1521. Bangkok: Thai Industrial Standards Institute (TISI). (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27