การศึกษาลายนิ้วมือแฝงที่ผ่านการใช้น้ำยาทำความสะอาดมือทั่วไป จากการปัดผงฝุ่นแม่เหล็ก

ผู้แต่ง

  • ปุณิกา คงไกรสิน บัณฑิตศึกษา สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • กมลชนก วรนาม นักศึกษา ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • พรรณพัชร สุวรรณพงษ์ นักศึกษา ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • ปรารถนา พานทอง พิสูจน์หลักฐานจังหวัดนครสวรรค์
  • สุนิษา โอบอ้อม ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

คำสำคัญ:

จุดลักษณะสำคัญพิเศษ, น้ำยาทำความสะอาดมือ, รอยลายนิ้วมือแฝง, ผงฝุ่นแม่เหล็ก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของน้ำยาทำความสะอาดมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปต่อลายนิ้วมือแฝงบนซองพัสดุพลาสติก โดยให้อาสาสมัครจำนวน 10 คน (ชาย 5 คนและหญิง 5 คน) รวมทั้งหมด 30 ตัวอย่างทำความสะอาดมือน้ำยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ จากนั้นประทับนิ้วมือบนซองพัสดุพลาสติก แล้วปัดด้วยผงฝุ่นแม่เหล็ก เพื่อตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงที่ปรากฏ นำรอยลายนิ้วมือแฝงทั้ง 30 ตัวอย่าง ที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ (AFIS) เพื่อหาจุดลักษณะสำคัญพิเศษ (minutiae) ก่อนประเมินคุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงจากเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นเปรียบเทียบคุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงระหว่างเพศชายและหญิง พบว่า คุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงเพศชายและหญิงไม่มีความแตกต่างกัน ต่อมาได้ทำการเปรียบเทียบรอยนิ้วมือระหว่างการตรวจพิสูจน์ด้วยโปรแกรม AFIS กับตรวจพิสูจน์ด้วยผู้วิจัย พบว่า minutiae บางตำแหน่งที่ตรวจพบจากผู้วิจัยไม่ปรากฏในลายนิ้วมือที่ตรวจด้วยโปรแกรม AFIS จึงนำ minutiae ดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับลายนิ้วมือที่พิมพ์ด้วยหมึกดำ ปรากฏว่ามีบางจุด minutiae ที่ได้การตรวจด้วยผู้วิจัยก็ไม่พบในลายนิ้วมือที่พิมพ์ด้วยหมึกดำ เช่นเดียวกัน จากนั้นทำการประเมิน minutiae ของรอยลายนิ้วมือแฝงจากน้ำยาทำความสะอาดมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ต่อการนำไปใช้ในชั้นศาล พบตัวอย่างกว่า 33.33% ที่มีจุดลักษณะสำคัญพิเศษ 10 จุดขึ้นไป ซึ่งเพียงพอต่อการตรวจพิสูจน์ในชั้นศาลสำหรับประเทศไทย

 

References

Acree, M. A. (1999). Is there a gender difference in fingerprint ridge density? . Forensic Science International,102(1), 35-44. https://doi.org/10.1016/S0379-0738(99)00037-7

Adam, C. (2016). Forensic evidence in court: Evaluation and scientific opinion. Chichester, West Sussex, England: Wiley.

April, B. (2021). Coronavirus pandemic adds $219 billion to US ecommerce sales in 2020-2021 digitalcommerce 3602022. Retrieved from https://www.digitalcommerce360.com/article/coronavirus-impact-online-retail/.

Chadwick, S., Neskoski, M., Spindler, X., Lennard, C., & Roux, C. (2017). Effect of hand sanitizer on the performance of fingermark detection techniques. Forensic Science International, 273, 153–160. https://doi.org/10.1016/j.forsciint.2017.02.018

De Alcaraz-Fossoul, J., & Li, S. (2021). Evaluation of an inkless method for fingerprint recordings using hand sanitizer gel on thermal paper. Forensic Science International, 323, 110787. https://doi.org/10.1016/j.forsciint.2021.110787

Eshun, K., & He, Q. (2004). Aloe vera: A valuable ingredient for the food, pharmaceutical and cosmetic industries--a review. Critical Reviews in Food Science and Nutrition, 44(2), 91–96. https://doi.org/10.1080/10408690490424694

Jing, J. L. J., Pei Yi, T., Bose, R. J. C., McCarthy, J. R., Tharmalingam, N., & Madheswaran, T. (2020). Hand sanitizers: A review on formulation aspects, adverse effects, and regulations. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(9), 3326. https://doi.org/10.3390/ijerph17093326

Kumari, V., Thakar, M. K., Mondal, B., & Pal, S. K. (2021). Effects of oils, lotions, hand sanitizers, and mehendi on fingerprints captured through digital fingerprint scanner. Egyptian Journal of Forensic Sciences, 11(8), 1-7. https://doi.org/10.1186/s41935-021-00222-w

Munoz-Figueroa, G. P., & Ojo, O. (2018). The effectiveness of alcohol-based gel for hand sanitising in infection control. British Journal of Nursing (Mark Allen Publishing), 27(7), 382–388. https://doi.org/10.12968/bjon.2018.27.7.382

Phanthong, P., Praihirunkit, P., Jirasirisuk, S., & Aobaom, S. (2021). Comparison of general cyanoacrylate and Sirchie cyanoacrylate for latent fingerprint on non-porous surfaces by Cyanosafe fuming chamber with Airsafe controller. The Journal of Applied Science, 20(1), 104-117. (in Thai)

Ramanan, V., & Nirmala, M. (2020). Visualization of latent fingerprints using neutral alumina as an inexpensive fingerprint developing powder. International Journal of Forensic Science, 3(1), 1-6. https://www.rfppl.co.in/subscription/upload_pdf/v-ramanan--ijfs-1602142058.pdf

Singhamarasri, N., Saksiri, N., & Pakdeenarong, P. (2021). Detection of latent fingerprints on the film of mobile phones submerged in water using black powder, SPR, Cyanoacrylate and Rhodamine 6G. Rajamangala University of Technology Tawan-ok Research Journal, 14(2), 17-27. (in Thai)

Singthong, S. (2015). Fingerprints and Personal Identification. Praewa Kalasin Journal of Kalasin University, 2(2), 52-63. (in Thai)

VanderKolk, J. R. (2011). Fingerprint sourcebook-Chapter 9: Examination process. United States of America. National Institute of Justice. Retrieved from https://www.ojp.gov/ncjrs/virtual-library/abstracts/fingerprint-sourcebook-chapter-9-examination-process

Yamashita, B., & French, M. (2010). Fingerprint Sourcebook-Chapter 7: Latent Print Development. United States of America. National Institute of Justice. Retrieved from https://www.ojp.gov/ncjrs/virtual-library/abstracts/fingerprint-sourcebook-chapter-7-latent-print-development

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-10