การใช้ประโยชน์วัสดุอินทรีย์เหลือใช้ในกระบวนการเกษตรของกระท้อน สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • รัฐพล ศิลปรัศมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • รัฐรินทร์ สว่างสาลีรัฐ วิสาหกิจชุมชน เกษตรอินทรีย์ อาหารดี ปลอดภัย บ้านวังรี

คำสำคัญ:

วัสดุอินทรีย์, สารต้านอนุมูลอิสระ, กระท้อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโดยการใช้ประโยชน์วัสดุอินทรีย์เหลือใช้ในกระบวนการเกษตรของกระท้อน จังหวัดสระแก้ว และพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกระท้อน คือ ใบ กิ่ง เปลือกผล และเนื้อผลด้านนอกกระท้อน วิธีการทดลอง สกัดสารสำคัญจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกระท้อน โดยศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดด้วยวิธี DPPH และพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความคงตัว พบว่า หลังจากสกัดสารด้วยการหมัก ใบ กิ่ง เปลือกผล และเนื้อผลด้านนอกกระท้อน ด้วยเอทานอล 95 % เป็นระยะเวลา 7 วัน ได้ร้อยละผลผลิต 5.32 7.98 10.87 และ 13.21 ตามลำดับ สารสกัดจากกระท้อนร้อยละ 50–200 มีความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระ โดยมีค่า IC50 เท่ากับร้อยละ 4.80, 1.07, 0.36 และ 0.32 โดยปริมาตร ตำรับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เหมาะสมประกอบด้วยสารสกัดกระท้อนร้อยละ 10 พาราฟิน แวกซ์ ร้อยละ 10 ไขผึ้งร้อยละ 10 วาสลีนร้อยละ 30 น้ำมันขาว ร้อยละ 38 และ Isopropyl palmitate ร้อยละ 2 ได้ตำรับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีส่วนประกอบสารสกัดกระท้อน มีความคงตัวที่อุณหภูมิห้องและสภาวะเร่งทั้งสัมผัสแสงและไม่สัมผัสแสง มีความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 6.07-6.15 และมีเนื้อเนียนละเอียด มีความคงตัว สีเหลืองอ่อน ไม่เกิดการแยกชั้น ทึบแสง ไม่มีกลิ่น ความหนืดไม่เปลี่ยนแปลงทั้งสภาวะสัมผัสแสงและไม่สัมผัสแสง ดังนั้นวัสดุอินทรีย์เหลือใช้ในกระบวนการเกษตรกระท้อนในส่วนของเปลือกผล และเนื้อผลส่วนนอกสามารถนำมาเพิ่มมูลค่า สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสามารถนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพได้

 

References

Ahamed, T., Rahman, S. K. M., & Shohael, A. M. (2017). Thin layer chromatographicprofiling and phytochemical screening of six medicinal plants in Bangladesh. Int. J. Biosci, 11(1), 131-140.

Charanjarupat, N., & Ajaree, S. (2018). Production of plywood sheets from agricultural waste. King Mongkut’s Journal, North Bangkok, 28(2), 469-476. (in Thai)

Jaitae, S. (2013). Development of healthy home garden vegetable production at Saluang-Keelek Community, Maerim district, Chiang Mai Province. Rajabhat Chang Mai Research Journal, 14(2), 15-22. (in Thai)

Jaricksakulchai, J., & Silaparassamee, R. (2022). Antioxidant activities of perennial plant extracts for Preventing skin infection of the elderly, Pathum Thani Province. Health science Journal of Thailand, 4(4), 72-78. (in Thai)

Karthika, K., & Paulsamy, S. (2015). TLC and HPTLC fingerprints of various secondary metabolites in the Stem of the Traditional Medicinal Climber, Solena amplexicaulis. Indian J Pharm Sci, 77(1), 111-116.

Neelapong, W., Phonyothin, B., & Sitthikityothin, W. (2019). Extraction of essences from Thai herbs: A form Powder and extract form. King Mongkut’s Journal of North Bangkok, 29(1), 157-166. (in Thai)

Siriwattanamethanont, N. (2016). Effects of astringents in tea leaves on maternal and child health. Bangkok: Department of PharmacyBotany, Faculty of Pharmacy Mahidol University. (in Thai)

Office of Agriculture and Cooperatives, Sa Kaeo Province. (2021). Information on advances in helping farmers of the Ministry of Agriculture and cooperatives according to the government policy of Sa Kaeo Province. Sa Kaeo: Office of Agriculture and Cooperatives. (in Thai)

Pandam, S. (2021). BCG model and Thai vocational education. CSNP-Journal, 6(2), 13-22. (in Thai)

Rasadah, M. A., Khozirah, S., Aznie A. A., & Nik, M. M. (2004). Anti-inflammatory agents from Sandoricum koetjape Merr. Phytomedicine, 11, 261–263.

Suksomran, W., Sumalai, W., Tangsakul, N., & Chaitan, T. (2022). Thin-Layer Chromatography Fingerprinting of Phytochemicals in Fruit Peel and Pulp of Sandoricum koetjape. Journal of Science and Technology CRRU, 1(1), 1-10. (in Thai)

Thankham, A., & Pathumanont, T. (2018). Evaluation of microstructures and chromato prints. Graphic of an antiseptic drug regimen. Science Journal Kotchasan, 40(1), 25-37. (in Thai)

Wanlapa, S., Wachirasiri, K., Sithisam-ang, D., & Suwannatup, T. (2015). Potential of selected tropical fruit peels as dietary fiber in functional foods. International Journal of Food Properties, 18, 1306–1316. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21