การศึกษาอุบัติเหตุจากการเล่นชิงช้าของเด็กประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปุณยนุช จงเจริญใจ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ภาคิน อัตตวิริยะสุวร สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • พรศิริ จงกล สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ชิงช้า, อุบัติเหตุ, เด็ก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาลักษณะการเกิดอุบัติเหตุและอาการบาดเจ็บของเด็กที่เกิดจากการเล่นชิงช้า (2) เพื่อศึกษาอุปสรรคและปัญหาที่พบของเด็กในขณะเล่นชิงช้า และ (3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการลดการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บของเด็กจากการเล่นชิงช้า ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่ มกราคม 2565–มีนาคม 2565 ผู้เข้าร่วมงานวิจัยนี้ คือ เด็กอายุ 7-12 ปีจำนวน 400 คน ภายในจังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจากการเล่นชิงช้า และพฤติกรรมการเล่นชิงช้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) เด็กส่วนใหญ่เล่นชิงช้า 5 วัน/สัปดาห์ แนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้นตามอายุ (2) การเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ คือ การพลัดตกจากชิงช้า คิดเป็นร้อยละ 68.38 สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้แก่ ขนาดที่นั่งที่ไม่เหมาะสม การเล่นที่ผิดวิธี และการหยอกล้อหรือแกล้งกันระหว่างเล่น ลักษณะอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ แผลถลอก คิดเป็นร้อยละ 38.02 รองลงมา คือ แผลฟกช้ำ คิดเป็นร้อยละ 12.39 (3) ปัญหาที่เด็กส่วนใหญ่พบขณะเล่นชิงช้า คือ พื้นที่นั่งแคบเกินไปคิดเป็นร้อยละ 27.84 และพื้นที่นั่งลื่น คิดเป็นร้อยละ 27.84 เช่นเดียวกัน เนื่องจากชิงช้าส่วนใหญ่เป็นโลหะ เมื่ออากาศชื้นจึงทำให้พื้นที่นั่งมีความลื่น ส่วนอุปสรรคของร่างกายต่อการเล่นชิงช้าที่พบในเด็ก 7-8 ปี คือ ไม่มีแรงในการเหวี่ยงชิงช้า ข้อเสนอแนะเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บของเด็กจากการเล่นชิงช้า คือ ใช้วัสดุที่ไม่มีคมในการทำที่นั่งและออกแบบขนาดให้รองรับกับสัดส่วนของเด็ก รวมถึงจัดวางชิงช้าให้ห่างจากทางเดินและเครื่องเล่นอื่น เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการเล่นชิงช้าของเด็ก

 

References

Bunma, M., Lawanvadeekul, S., Hunyala, J., Yimlamai, W., & Samuttalak, K. (2017). Environmentand Safety of Outdoor. Playground Equipment for Pre-School Child, 11(2), 146-162. (in Thai)

Chivanon, N. (2016). Accidents in children: Situation and prevention. The Journal of Faculty of Nursing, Burapha University, 24(3), 1-12. (in Thai)

ld Safety Promotion and Injury Prevention Research Center (CSIP). (2018). CSIP child safety promotion and injury prevention research center. Retrieved from http://csip.org/wordpress/2019/07/13/เด็กบาดเจ็บจากสนามเด็ก/ (in Thai)

Junthepa, P., & Nathapindhu, G. (2012). Environment and safety of playgrounds at child care centers supervised by local administrative organizations and primary schools, Thabo District, Nongkhai Province. KKU Journal for Public Health Research, 5, 1-12. (in Thai)

Kekovic, A., Momcilovic-Petronijevic, A., & Ćurĉić, A. (2019). Designing of children playgrounds from the aspect of used surfacing with a goal of children safety on the example of the City of Nis. Facta universitatis-series Architecture and Civil Engineering, 17(1), 69-80. https://doi.org/10.2298/FUACE190123001K

Mack, M. G., Hudson, S., & Thompson, D. (1997) A descriptive analysis of children’s playground injuries in the United States 1990-4. Inj Prev, 3(2), 100-103. doi: 10.1136/ip.3.2.100.

National Institute for Emergency Medicine. (2017). Statistics of emergency injuries in children with age 1-15 years in 2016. emergency: newsletter from National Institute for Emergency Medicine. January 2017. Retrieved from https://www.niems.go.th/1/Upload/migrate/File/256103221110087879_TOQBStXAB8C3NZcF.pdf (in Thai)

Phetliap, W., Keankarn, P., & Lertpinyochaithaworn, N. (2020). Working Environment and Personal Protective Equipment use among Workers in Automotive Repair Shops, Muang District, Nakhon Ratchasima Province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 14(3), 127–138. (in Thai)

Sansakorn, P., Madardam, U., Pongsricharoen, J., Srithep, N., Janjamsri, N., & Mongkonkansai, J. (2022). The current status of public playground safety and children’s risk taking behavior in the park: Nakhon Si Thammarat Province, Thailand. Children, 9(7), 1034. https://doi.org/10.3390/children9071034

Şensoy, G., & İnceoğlu, M. (2015). Design guide for playgrounds. Journal of Civil Engineering and Architecture, 9, 1390-1398. doi:10.17265/1934-7359/2015.11.013

Shupmahasan, S., & Sirisuwan, P. (2020). Factors Contributing to Accidents in the Performance of the Operation Team Technicians Installing the Company’s Cable: A Case Study. EAU Heritage Journal Science and Technology, 14(2), 278–289. (in Thai)

Sonsong, N., & Suttisong, S. (2017). Factors Affecting Accidents of the Ground Equipment Service Employees at the Apron Area of Donmuang International Airport. EAU Heritage Journal Science and Technology, 11(2), 146–155. (in Thai)

Sosnowska, S., & Kostka, T. (2003). Epidemiology of School Accidents during a Six School-Year Period in One Region in Poland. European Journal of Epidemiology, 18(10), 977-982. https://doi.org/10.1023/a:1025802203726

Sub-Committee on Protection of Playground and its equipment and devices. (2008). Handbook of safe child playground. Bangkok: Consumer Protection Board. (in Thai)

The Royal Society for the Prevention of Accidents (RoSPA). (2022). Accidents on children’s playgrounds. Retrieved from https://www.rospa.com/play-safety/advice/playground-accidents. (in Thai)

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York, Evanston & London: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-10