การประยุกต์ใช้แนวทางคิวซีสตอรี่ในการปรับปรุงเพื่อลดของเสีย ในกระบวนการผลิตหลังคาเมทัลชีทแบบมีฉนวนพียูโฟม
คำสำคัญ:
คิวซีสตอรี่, การปรับปรุง, ของเสียบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการทำงานและการผลิตหลังคาเมทัลชีทแบบมีฉนวน (2) ศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดของเสียในกระบวนการผลิตหลังคาเมทัลชีทแบบมีฉนวน และ (3) ลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 โดยการเก็บข้อมูลจำนวนการผลิตและของเสียย้อนหลัง 10 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2564 เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการปรับปรุง แล้ววิเคราะห์ปัญหาด้วยการประชุมระดมความคิดเห็นจากพนักงานโดยใช้แผนผังแสดงสาเหตุและผล ในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาด้วยเกณฑ์ 3 ประการ คือ ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ความรุนแรงของปัญหา และความถี่ของการเกิดปัญหา เพื่อเลือกปัญหาที่ส่งผลให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิตมากที่สุด แล้วจึงวิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุงเพื่อแก้ไขปัญหา ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของปัญหาเกิดจาก คน เครื่องจักร วัตถุดิบ และสภาพแวดล้อม การดำเนินการปรับปรุงแก้ไขได้แก่ การใช้หลักการ Eliminate Combine Rearrange Simplify--ECRS การกรอกข้อมูลลงในใบตรวจสอบหลังการตรวจวัดงาน ภายหลังการปรับปรุงจึงได้เก็บรวบรวมข้อมูลของเสียตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ถึงเดือน มกราคม 2565 และนำข้อมูลภายหลังจากการปรับปรุงมาวิเคราะห์ผล ผลปรากฎว่า จำนวนของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตลดลง จากเดิมที่มีของเสียเฉลี่ย 889 เมตรต่อเดือน เหลือ 705 เมตรต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 20.7
References
Frievalds, A., & Niebel, B. (2021). Niebel’s methods, standards, & work design (13th ed.). US: McGraw-Hill.
Jantana, W., & Sapsanguanboon, W. (2020). Productivity Improvement in Ceramic Production Process: A case study of factory in Samut Prakan Province. Songklanakarin Journal of Management Sciences, 37(2), 58-83. (in Thai)
Kheowsank, T., & Worrarat, S. (2012). Defectives reduction in vacuum forming production process. Proceeding of IE Network Conference 2012 (pp.725-729). Petchburi: Sripatum University. (in Thai)
Kumar, S. A., & Suresh, N. (2009). Operations management. New Delhi: New Age International Publishers.
Mukem, M. (2018). Damaged can reduction in warehouse department: A case study of Siam International Food Co., Ltd. (Research report). Songkla: Songkla University. (in Thai)
Office of the National Economics and Social Development Council. (2021). Production approach construction. gross domestic product: Q2/2021, 3-4. Retrieved from https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/main.php?filename=qgdp_page.
Rijiravanich, V. (2012). Work study principles and case studies (8th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Srichana, P., & Khwalamthan, P. (2012). The reduction wasted materials in concrete brick production process study: Maha-Anajak Company Limited (Research report). Udonthani: Udonthani Rajabhat University. (in Thai)
Tayal, A., Kalsi, N. S., Gupta, M. K., Pimenov, D. Y., Sarikaya, M., & Pruncu, C. I., (2021). Effectiveness improvement in manufacturing Industry, trilogy study and open innovation dynamics. Journal of Open Innovation: Technology, Market, and Complexity, 7(1), 7. https://doi.org/10.3390/joitmc7010007
Wajanawichakorn, K., Srisawat, P., & Thippo, W. (2016). Efficiency improvement of the pottery production process to reduce waste and increase the production quality: Case study of HUAYWANGNONG Pottery Group, Ubonratchathani. UBU Engineering Journal, 9(2), 38-46. (in Thai)
Wongwanruan, T. (2017). Improvement of bottle pasteurized milk production process using lean manufacturing technique (Master’s project). Chiang Mai: Chiang Mai University. (in Thai)