การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาการวางแผนจำหน่ายผู้พิการ ด้านการเคลื่อนไหวของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ผู้แต่ง

  • ชุติมา ป.ว. สังฆา นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหว, การวางแผนจำหน่าย, การประเมินความต้องการจำเป็น, people with physical disabilities, discharge plan, need assessment

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การปฏิบัติกิจกรรม การวางแผนจำหน่าย (2) ความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาการวางแผนจำหน่าย (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายใน ปัจจัยด้านองค์การ และการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพกับการปฏิบัติกิจกรรมการวางแผนจำหน่าย และ (4) ความสามารถในการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายใน ปัจจัยด้านองค์การ และการมีส่วนร่วมของทีม สหสาขาวิชาชีพต่อการปฏิบัติกิจกรรมในการวางแผนจำหน่ายผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวของพยาบาลวิชาชีพ โดยศึกษา ในกลุ่มตัวอย่าง 143 คน จากพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือ คือแบบสอบถามซึ่งได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความตรงของแต่ละส่วนอยู่ระหว่าง .83-.98 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์ครอนบาชแอลฟา อยู่ระหว่าง .80-.92 ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติที สถิติค่า สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) พยาบาลปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนของการวางแผนจำหน่ายในภาพรวมและรายด้าน 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการวินิจฉัยปัญหาอยู่ในระดับดี (2) มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการวางแผนจำหน่ายทุกขั้นตอน ขั้นตอน การประเมินผลเป็นขั้นตอนที่มีความจำเป็นมากที่สุด (3) ระดับการศึกษา (r=.194) เจตคติ (r=.292) นโยบายโรงพยาบาล (r=.173) การจัดการ (r=.245) การติดต่อสื่อสาร (r=.261) ระบบการบันทึกรายงาน (r=.303) มีความสัมพันธ์กับการ ปฏิบัติกิจกรรมในการวางแผนจำหน่าย (4) ระบบการบันทึกรายงานและเจตคติของพยาบาลสามารถร่วมกันทำนายการ ปฏิบัติกิจกรรมในการวางแผนจำหน่ายได้ร้อยละ 12.6 มีสมการทำนายดังนี้

\hat{y}  = .251 + .468 (ระบบการบันทึกรายงาน) + .166 (เจตคติของพยาบาลวิชาชีพ)

\inline \hat{Z}_{Y} = .239 (ระบบบันทึกรายงาน) + .224 (เจตคติของพยาบาลวิชาชีพ)

 

Need Assessment for Development of Discharge Plan for People with Physical Disabilities of Professional Nurses in Phramongutklao Hospital

The objectives of this study are to examine (1) the practice of professional nurses disable patient discharge plan (2) the need of developing plan for professional nurses in how to discharge disable patient (3) the correlation between personal factors, internal factors, organizational factors and the practice of disable patient discharge plan, and (4) the predicted importance of personal factors, internal factors, organizational factors as well as the involvement of disciplinary team monitoring the practices of disable patient discharge plan 143 of professional nurses who had experience in care for disabled patients in Phramongkutklao hospital were sampled by using the stratified random sampling technique. The questionnaire for this study was validated by experts. The study found the validity index (CVI) was from .83 to.98 and Cronbach’s Alpha coefficients was from .80-.92. Statistical analysis of .05 was used to determine values of t-test, Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient and regression analysis. The result revealed that, practice of discharge plan for disabled people by professional nurses were medium level at best at 4 scale; however, nurses performed well diagnosing the patient disability problems. The study shows there is a need to develop discharge plans at all levels, particularly the evaluation steps. The correlation factors for discharge plan practices for physically disable people were: education (r=.194), attitude (r=.292), hospital policy (r=.173), management (r=.245), communication (r=.261) and record system (r=.303). all showing that the power of prediction was equal to 12.6 as calculated by following equation

\hat{y} = .251 + .468 (recording system) + .166 (attitude) and

\inline \hat{Z}_{Y} =.239 (recording system) + .224 (attitude)

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย