การลดอุณหภูมิก่อนเข้าคอนเดนเซอร์เพื่อเพิ่มสมรรถนะ ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนด้วยการใช้ PVC Filling

ผู้แต่ง

  • ธีรพงศ์ บริรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • พงษ์สวัสดิ์ คชภูมิ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ระบบปรับอากาศ, decreasing temperature

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาสมรรถนะและการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนที่ทำการติดตั้ง อุปกรณ์ลดอุณหภูมิอากาศที่ใช้ในการระบายความร้อนของคอนเซอร์ซึ่งทำจากกระดาษเซลลูโลสเปรียบเทียบกับการใช้ PVC filling โดยใช้น้ำจากอีแวพพอเรเตอร์ในการหล่อเย็น พารามิเตอร์ที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะ (COP) ค่าประสิทธิภาพการทำความเย็น (EER) กำลังงานที่ใช้ของระบบ และพลังงานไฟฟ้า

จากการทดลองใช้เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนยี่ห้อ FUJIBISHI แบบตั้งแขวน ขนาดการทำความเย็น 12,000 Btu/hr ใช้สารทำความเย็น R 22 เป็นสารทำงานในระบบการทำความเย็น เครื่องปรับอากาศติดตั้งในห้องขนาด 13.4 ตารางเมตร สูง 3 เมตร เปิดใช้งาน 8 ชั่วโมง (08:00-16:00 น.) ผลการทดลองพบว่าการติดตั้งชุดลดอุณหภูมิ ก่อนเข้าคอนเดนเซอร์โดยใช้กระดาษเซลูโลส เครื่องปรับอากาศสามารถระบายความร้อนได้ดี สัมประสิทธิ์สมรรถนะ (COP) ของระบบปรับอากาศเท่ากับ 5.28 และมีค่าประสิทธิภาพการทำความเย็น (EER) 14.59 กำลังงานที่ใช้ของ ระบบ 6.00 (kW-hr) การใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงจากเครื่องปรับอากาศปกติร้อยละ 28.39 ส่วนการใช้ PVC filling สัมประสิทธิ์สมรรถนะ (COP) ของระบบปรับอากาศเท่ากับ 5.13 และมีค่าประสิทธิภาพการทำความเย็น (EER) 18.01 กำลังงานที่ใช้ของระบบ 6.60 (kW-hr) การใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงจากเครื่องปรับอากาศปกติร้อยละ 21.18 การใช้ PVC filling ทดแทนการใช้กระดาษเซลลูโลสจะมีข้อดีคือสามารถล้างทำความสะอาดได้มากครั้งกว่าและมีอายุการใช้งาน ได้นานกว่าแผ่นเซลูโลส

 

The Performance Enhancement of Split Type Air Conditioning System by Decreasing Temperature Before Inlet Condensing Unit Using PVC Filling

Objective of this paper is to study the performance of the split-type air conditoning unit using cellulose paper cooling media compare to PVC filling. Cooling water used was the condensed water from evaporator. The studied parameter are coefficient of performance(COP), energy efficiency ratio (EER), and power and energy of the system.

Experiment set up used a Fujibishi split type air conditioning unit of 12,000 Btu/hr capacity using R 22 was used as working fluids. The test room are 13.4 m2 floor area with 3 m height. The test run started from 08:00 am to 4:00 pm or 8 hour/day.

Result of the test showed that COP of cellulose condenser was at 5.28, EER was 14.59. system power consumption 6.00 kW-hr,and energy consumption reduce from normal air conditioning unit was at 28.39 %. For PVC filling cooling set, COP was at 5.13, EER was at 18.01, power consumption was 6.60 kW-hr, and energy consumption reduce from normal air conditioning unit was at 21.18 %. However, the advantage of using PVC filling are the washing ability and longer life time compare that of cellulose media.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย