การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพต่อการเป็นโรงพยาบาลที่ดึงดูดใจ กรณีศึกษาโรงพยาบาลที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร
คำสำคัญ:
โรงพยาบาลที่ดึงดูดใจ, การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ, magnet hospital, perceptions of professional nursesบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเป็นโรงพยาบาลที่ดึงดูดใจ และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเป็น โรงพยาบาลที่ดึงดูดใจตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 288 คน ได้จากการสุ่ม แบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเจตคติต่องานการพยาบาล และ แบบสอบถามการเป็นโรงพยาบาลที่ดึงดูดใจ ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไป ทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามโดยค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82 และ .97 ตามลำดับ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้การเป็นโรงพยาบาลที่ดึงดูดใจโดยรวมในระดับสูง เมื่อจำแนก รายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านคุณภาพภาวะผู้นำ ด้านการบริหาร ด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล และพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล หน่วยงานที่ปฏิบัติงานและเจตคติต่องานการพยาบาลมีความสัมพันธ์กับ การรับรู้ต่อการเป็นโรงพยาบาลที่ดึงดูดใจ (r = 0.24 และ 0.64) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อายุ ระดับ การศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ
Perception of Professional Nurses Toward Being Magnet Hospital: A Case Study in Non-Profit Hospital
The purposes of this research were to study the level of perception of professional nurses toward being magnet hospital, as well as to study the relationships between personal factors, professional nurses toward being magnet hospital. The sample were 288 professional nurses selected by stratified random sampling. The 3-parts questionnaire included personal information attitude and perception toward being magnet hospital. It was validated by experts and a tryout with 30 professional nurses. Cronbach’s Alpha coefficient was analyzed to indicate the reliability at the questionnaire which were .82 and .97, respectively. The statistics were the percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient. The significant level was set at <.05. The research findings revealed: The nurses had high level of attitude. Total perceptions toward being magnet hospital was at high level where as the perception mean score of each part was at the high level except the human resources management which was at the moderate level. Professional nurses who have different nursing practical unit and attitude were statistical significant related to perceptions of magnet hospitals at .05 level (r=0.24 and 0.64), but educational level, age range and experience were not related to perceptions of magnet hospitals.