บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคน้ำคั่งในโพรงสมองชนิดความดันปกติ

ผู้แต่ง

  • จันทนา ณหทัยโภคิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • วัลทณี นาคศรีสังข์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • สถิรกานต์ ทั่วจบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • บุญตา สุขวดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาล, ภาวะโรคน้ำคั่งในโพรงสมองชนิดความดันปกติ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองชนิดความดันปกติในผู้สูงอายุ เกิดจากการดูดซึมของน้ำหล่อเลี้ยงสมองผิดปกติ ส่งผลให้โพรงสมองเกิดภาวะน้ำคั่งและโตที่ผิดปกติ ผู้สูงอายุมักมีอาการทรงตัวลำบาก เดินก้าวสั้นและช้า เดินไม่ยกเท้า เดินขาแยก ความทรงจำแย่ลง และกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หากเข้ารับการรักษาล่าช้า จะส่งผลให้เกิดภาวะความดันกะโหลกศีรษะสูงเป็นอันตรายกับสมอง ทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญาและเกิดภาวะสมองพิการ การวินิจฉัยโรคนี้ได้จากข้อมูลการซักประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การรักษาของผู้ป่วย คือ การใส่สายระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมองจากโพรงสมอง
ลงสู่ช่องท้อง ดังนั้นเพื่อช่วยทำให้การผ่าตัดรักษาโรคนี้มีประสิทธิภาพ พยาบาลต้องมีบทบาทที่ชัดเจนในการดูแลผู้ป่วย โดยมีแผนการดูแลทั้งหมด 4 ระยะ ดังนี้ (1) ระยะก่อนผ่าตัด (2) ระยะหลังผ่าตัด (3) ระยะพักฟื้นหลังผ่าตัด (4) ระยะเตรียมความพร้อมก่อนกลับบ้าน เป้าหมายสำคัญของการดูแล คือการป้องกันไม่ให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงและเนื้อสมองถูกทำลายมากขึ้น ดังนั้นบทบาทของพยาบาล ควรมีการประเมินและวางแผนให้การพยาบาลอย่างเหมาะสม ตลอดจนให้คำแนะนำแก่ญาติผู้ดูแล เพื่อลดความวิตกกังวลและทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดการใส่สายระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมองจากโพรงสมองลงสู่ช่องท้อง ฟื้นหายได้เร็ว และสามารถกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติ

 

References

Ahmed, A. K., Luciano, M., Moghekar, A., Shin, J., Aygun, N., Sair H. I., Rigamonti, D., & Blitz, A. M. (2018). Does the Presence or Absence of DESH predict outcomes in adult hydrocephalus. American Journal of Neuroradiology, 39(11), 2022-2026. doi: 10.3174/ajnr.A5820.

Brinker, T., Stopa, E., Morrison, J., & Klinge, P. (2014). A new look at cerebrospinal fluid circulation. Fluids and Barriers of the CNS, 11, 10. https://doi.org/10.1186/2045-8118-11-10

Ghosh, S., & LInspired pressurepa, C. (2014). Diagnosis and prognosis in idiopathic normal pressure hydrocephalus. American Journal of Alzheimer’s Disease and Other Dementias, 29(7), 583–589. https://doi.org/10.1177/1533317514523485

Karal, L., Pampal, H. K., Yildirim, F., Dilekoz, G., Emmez, F. P.U., Kocabiyik, M., & Demirel, C. B. (2017). Role of ischemic modified albumin in the early diagnosis of increased intracranial pressure and brain death. Bratislavske Lekarske Listy, 118(2), 112–117. https://doi.org/10.4149/BLL_2017_023

Luke, M., & Sherman, C. S. (2017). Clinical evaluation of adult hydrocephalus. In H. Richard Winn, (Ed.). Youmans & Winn neurological surgery (7th ed., pp. 282–285). PA: Elsevier.

Madden, L. K., & DeVon, H. A. (2015). A systematic review of the effects of body temperature on outcome after adult traumatic brain injury. The Journal of Neuroscience Nursing: Journal of the American Association of Neuroscience Nurses, 47(4), 190–203. https://doi.org/10.1097/JNN.0000000000000142

Nassar, B. R., & Lippa, C. F. (2016). Idiopathic normal pressure hydrocephalus: A review for general practitioners. Gerontology & Geriatric Medicine, 2, 2333721416643702. https://doi.org/10.1177/2333721416643702

Olson, D. M., Lewis, L. S., Bader, M. K., Bautista, C., Malloy, R., Riemen, K. E., & McNett, M. M. (2013). Significant practice pattern variations associated with intracranial pressure monitoring. The Journal of Neuroscience Nursing: Journal of the American Association of Neuroscience Nurses, 45(4), 186–193. https://doi.org/10.1097/JNN.0b013e3182986400

Osama, J., & John, R. W. K. (2017). Hydrocephalus in children: Etiology and overall management. In H. Richard Winn, (Ed.), Youmans & Winn neurological surgery (7th ed., pp. 1588–1595). PA: Elsevier.

Richard, J., Edwards, & James, M. (2017). Cerebrospinal fluid devices. In H. Richard Winn, (Ed.). Youmans & Winn neurological surgery (7th ed., pp. 1638–1644). PA: Elsevier.

Roth, C., Stitz, H., Kalhout, A., Kleffmann, J., Deinsberger, W., & Ferbert, A. (2013). Effect of early physiotherapy on intracranial pressure and cerebral perfusion pressure. Neurocritical care, 18(1), 33–38. https://doi.org/10.1007/s12028-012-9799-5.

Sivagnanam, M., & Jha, N. K. (2012). Hydrocephalus: An overview. In S. Pant & I. Cherian (Eds.), Hydrocephalus. IntechOpen. https://doi.org/10.5772/32502

Vucic, S. (2014). Surgery in normal pressure hydrocephalus dont-wait-to-shunt. Neurol Neurosurg Psychiatry, 85, 806-810. doi:10.1136/jnnp-2013-306117

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ