บริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการแพทย์เชิงประจักษ์: กรณีศึกษาศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์

ผู้แต่ง

  • ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ อาจารย์ประจำ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีต Knowledge Management Leadership and Research Fellow ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์ เมืองแนชวิลล์ มลรัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา

คำสำคัญ:

สารสนเทศ, การแพทย์เชิงประจักษ์, information, public health

บทคัดย่อ

การแพทย์เชิงประจักษ์ เป็นแนวคิดในการใช้ผลศึกษาวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตัดสินใจ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยและการสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ บทความนี้นำเสนอแนวคิดการให้บริการสารสนเทศที่สนับสนุน แนวความคิดการแพทย์เชิงประจักษ์ โดยพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศตามแบบจำลอง informationist ให้สามารถตอบสนองความต้องการเชิงลึกของทีมวินิจฉัยโรคและ/หรือดูแลรักษาผู้ป่วย บทความชิ้นนี้ ได้นำการให้บริการสารสนเทศ ณ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์มาเป็นกรณีตัวอย่าง โดยอธิบายสภาพการ ทำงานจริงในบริบทของการแพทย์คลินิก นอกจากนี้บทสรุปของบทความได้อภิปรายเกี่ยวกับความท้าทายและข้อจำกัด ของการให้บริการสารสนเทศสำหรับการแพทย์เชิงประจักษ์ โดยเฉพาะในบริบทของไทย

 

Information Services for Evidence Based Medicine: A Case Study of Vanderbilt University Medical Center

Evidence-based medicine advocates a critical and systematic use of interdisciplinary research findings to support decision making in clinical practice and public health. This article explains an overview of information services to support such a concept. The development process of these services is built around the augmentation of information specialist’s skills and competency, following the informationist model, in order to support extensive information needs of clinical teams. As a case report, this article describes integrative information services provided at Vanderbilt University Medical Center as a case study. Conclusively, it also examines challenges and limitations of the application of information services for evidence-based medicine, particularly in a context of Thailand.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ