การให้บริการแก่ผู้โดยสารของท่าอากาศยาน ในการกำกับดูแลของกรมการบินพลเรือน

ผู้แต่ง

  • สุภกัญญา ชวนิชย์ อาจารย์ประจำคณะการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ปริยากร มนูเสวต อาจารย์ประจำคณะการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การให้บริการ, ท่าอากาศยาน, กรมการบินพลเรือน, services to passengers, airports, Civil Aviation Department

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการให้บริการและการได้รับบริการของผู้โดยสาร (2) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการให้บริการแก่ผู้โดยสารกับสภาพการได้รับบริการของผู้โดยสาร (3) เปรียบเทียบ การให้บริการของผู้โดยสารของท่าอากาศยานระหว่างกลุ่มที่มีศักยภาพสูง ปานกลาง และค่อนข้างน้อย (4) เปรียบเทียบ การได้รับบริการของผู้โดยสารของท่าอากาศยานระหว่างกลุ่มที่มีศักยภาพสูง ปานกลาง และค่อนข้างน้อย ประชากร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) ผู้โดยสารของท่าอากาศยาน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน (2) ผู้บริหารของท่าอากาศยานในการกำกับดูแลของกรมการบินพลเรือน เลือกแบบ เจอะจงสนามบิน จำนวน 6 แห่ง ได้ตัวอย่างจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามการได้รับบริการ และการให้บริการของท่าอากาศยาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ chi-square สถิติ Phi- Coefficient สถิติ One Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้โดยสารได้รับบริการทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านบริการที่ท่าอากาศยานจัดให้ และด้าน บริการที่ให้ความเพลิดเพลิน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) การให้บริการของท่าอากาศยานให้บริการทั้ง 3 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) สภาพการให้บริการแก่ผู้โดยสารของการท่าอากาศยานมีความสัมพันธ์กับสภาพ การได้รับบริการของผู้โดยสาร โดยรวมในระดับต่ำ (4) การได้รับบริการของผู้โดยสารของท่าอากาศยานระหว่างกลุ่ม ในภาพรวมแตกต่างกัน (5) การให้บริการแก่ผู้โดยสารของท่าอากาศยานระหว่างกลุ่ม ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน

 

Service Provision for Passengers at Thai Airports under the Direction of the Civil Aviation Department

This paper reports on the survey study aiming to discover (1) Conditions of service to passengers, (2) The state of the passenger services, (3) The relationship between the state and provide passengers with condition to get the services of passengers, (4) Compared to the passenger the airport between groups with high, medium and relatively low potential, (5) Comparison of the airport passenger service between high, medium and relatively low potential. Questionnaires were used as the instrument for data collection of 400 passengers at 6 terminals under the command of Department of Civil Aviation and 3 management persons of each terminal. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, and standard deviation and the hypothesis was tested by Chi-square, Phi-Coefficient and One way ANOVAs. The research found: (1) Passenger’s opinions toward the services of terminals relate to facilities, services and entertainment provided were at average level in all services, (2) The study on management person’s opinions toward the service of terminals provide, were at high level in all service. (3) Conditions of service to the passengers of the airport in relation to the condition of the passenger service in overall low level. (4) Difference terminal potential level caused the difference in the passenger opinion toward the service level-in the following facilities provided, services provided and entertainment, (5) The services to passengers amoung groups were not diference.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย