การสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยุค 4.0 อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ฉลองรัฐ ทองกันทา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
  • นิพนธ์ แก้วต่าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีดิจิทัล, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ยุค 4.0, อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ยุค 4.0 (2) ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ยุค 4.0 (3) ศึกษาการปฏิบัติด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ยุค 4.0 (4) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ยุค 4.0 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4.0 ประจำปี 2561-2562 จำนวน 632 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 161 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติพื้นฐานร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า (1) ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยี ดิจิทัลด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ยุค 4.0 อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=4.96 SD=1.76) (2) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยุค 4.0 ทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=3.79 SD=0.87) (3) การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ของ อสม. 4.0 พิจารณาให้สอดคล้องกับ 3 อ 2 ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ยุค 4.0 ในภาพรวม อยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X}=3.95 SD=1.11) (4) อายุ การศึกษา ระยะเวลาการเป็น อสม. (มีค่า R=0.206 0.367 0.258) สัมพันธ์กับทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีและมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 เพศ รายได้ อาชีพ กับทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีไม่มีความสัมพันธ์กัน ส่วน เพศ อายุ รายได้ อาชีพ ระยะเวลาการเป็น อสม. กับความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กัน และ เพศ อาชีพ (มีค่า R=0.282 0.260) สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงสุขภาพและมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 อายุ รายได้ ระยะเวลาการเป็น อสม. กับพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กัน

References

Channam, N., & Ratchatapanthanakone, B. (2017). Development of madia adversiting literacy on fast food and junk food marketing in schoolchildren, Hatyai district, Songkhla Province. Bangkok: National Research Council of Thailand. (in Thai)

Department of Health Service Support. (2011). Handbook of volunteers in the new era. Bangkok: Agricultural Cooperative Community of Thailand. (in Thai)

Health Education Division. (2018). Health literacy. Retrieved from http://www.hed.go.th/linkhed/file/138. (in Thai)

Kreps, G. L. (2001). The evolution and advancement of health communication inquiry. Annals of the International Communication Association, 24(1), 231-253. https://doi.org/10.1080/23808985.2001.11678988

Ngasangsai, P., Sornseeyon, P., & Phattarabenjapol, S. (2014). A case study of health literacy of village health volunteers. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, 9(Suppl), 81-87. (in Thai)

Phdthapee, C., & Prasertsuk, N. (2016). Health promotion behavior for people operated by village health volunteers in District of Boploi, Kanchanaburi Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 1,190-1,205. (in Thai)

Rattanawarang, W., & Chantha, W. (2018). Health literacy of self-care behaviors for blood glucose control in patients with type2 diabetes, Chainat Province. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 14(2), 34-51. (in Thai)

Srisaat, B. (2002). Preliminary research. Bangkok: Suwiriyasan. (in Thai)

Suriyong, S. (2020). Communication for Public Health Care of Galyani Vadha District, Chai Mai Province by village health volunteer 4.0 era. Journal of Public Health NakhonSawan, 6(3), 81-89. (in Thai)

Tachavijitjaru, C., Srisupornkornkul, A., & Changtej, S. (2018). Selected factors related with the health literacy of village health volunteer. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19(Suppl), 320-332. (in Thai)

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Tokyo: Harper International Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21