การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์กับการเรียนรู้สู่อัตลักษณ์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
คำสำคัญ:
การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์, บัณฑิตพยาบาล, มาตรฐานคุณวุฒิบัณฑิตระดับปริญญาตรี, evidence-based practice, undergraduate, nursing, Thailand Qualifications Frameworkบทคัดย่อ
การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาลบุคคล ครอบครัว และชุมชนเป็นสมรรถนะของบัณฑิตพยาบาล ที่สำคัญประการหนึ่งในมาตรฐานคุณวุฒิบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2552 ทำให้สถาบัน การศึกษาพยาบาลต้องปรับแนวทางการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับนักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานในการ ปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ได้แก่ การสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูล และนำข้อมูลหลักฐานไปใช้อ้างอิงและ แก้ไขปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง ใช้ประสบการณ์เป็นฐานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพในการให้บริการการพยาบาล การพัฒนา การเรียนรู้ดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จได้นั้นอาจารย์ผู้สอนควรบูรณาการแนวคิดการปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิง ประจักษ์กับการพัฒนาคุณลักษณ์บัณฑิตที่พึงประสงค์ของสถาบันตลอดหลักสูตรและดำเนินการพัฒนาอย่างเป็น ระบบและต่อเนื่อง
Utilization of Evidence-Based Pedagogy towards Graduate Identity at Boromarajonani College of Nursing, Saraburi
Utilizing evidence-based nursing is a required competency of undergraduate nurses according to the 2009 Thailand Qualifications Framework for Higher Education on healthcare delivery to individual, family, and community. Nursing educators need to design and adjust the curriculum with learning experiences for students to develop basic skills of evidence-based practice. The skills include searching for empirical evidence, data analysis, application of evidence, critical problem solving, and systematic thinking related to professional nursing and previous experiences for safety and quality nursing outcomes. To accomplish evidence-based learning, nursing instructors should integrate the evidence-based practice principles into undergraduate courses as an ongoing development of graduate identity throughout the curriculum.