การศึกษาการลงทุนเชิงเปรียบเทียบ ในเครื่องเวอร์ติคอลแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์

ผู้แต่ง

  • จักร ติงศภัทิย์ ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการวิสาหกิจ สำหรับผู้บริหาร สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
  • ศักดา เขียวอ่ำ ผู้จัดการแผนกบริการ บริษัท ไฮเดนฮาน (ไทยแลนด์) จำกัด

คำสำคัญ:

เครื่องเวอร์ติคอลแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์, การรีโทรฟิต, ตัวแบบต้นทุนบนฐานกิจกรรมและเกณฑ์เวลา, vertical machining center, retrofit, and time-driven activity-based costing (TDABC)

บทคัดย่อ

การลงทุนในเครื่องจักรกลเป็นต้นทุนที่มีมูลค่าสูงมากสำหรับผู้ประกอบการไทย การวิจัยปฏิบัติการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบมูลค่าการลงทุนของเครื่องเวอร์ติคอลแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ระหว่างการรีโทรฟิต เครื่องแบบกึ่งสมบูรณ์และการนำเข้าเครื่องจักรใหม่จากต่างประเทศในกลุ่มราคาสูงและกลุ่มราคาต่ำโดยใช้ การวัดประสิทธิผลการทำงานของเครื่องจักรในการกัดชิ้นงานเฮดแคลม 10 ชิ้นเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานและ เกณฑ์คุณภาพที่ยอมรับได้และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของต้นทุนรวมในการกัดชิ้นงานด้วยตัวแบบต้นทุนบนฐาน กิจกรรมและเกณฑ์เวลา (TDABC) เลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบบเจาะจง และเก็บรวบรวมข้อมูลจากคู่มือ พิกัดที่มากับเครื่องจักร เว็บไซต์ของตัวแทนจัดจำหน่าย และข้อมูลจากการปฏิบัติงานจริง ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลด้านฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องเวอร์ติคอลแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ที่รีโทรฟิตแบบกึ่งสมบูรณ์อยู่ใน พิสัยของเกณฑ์มาตรฐาน ความเที่ยงตรงของคุณภาพชิ้นงานเฮดแคลมที่กัดได้อยู่ในพิสัยของเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ประสิทธิภาพด้านต้นทุนรวมในการผลิตชิ้นงานของเครื่องจักรที่รีโทรฟิตมีมูลค่าต่ำกว่าต้นทุนรวมของเครื่องจักรใหม่ นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวน 2,056,092.00 บาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 11.47 และมูลค่าการลงทุนของ เครื่องจักรที่รีโทรฟิตคิดเป็นร้อยละ 38 ของต้นทุนเครื่องจักรใหม่นำเข้าในกลุ่มราคาสูง และเป็นร้อยละ 50 ของต้นทุนเครื่องจักรใหม่นำเข้าในกลุ่มราคาต่ำ

 

The Comparative Study of the Investments in the Vertical Machining Center

The machine investment is an enormous amount of capital expenditure for Thai entrepreneurs. The objectives of this operation research were to compare the investment costs of semi-retrofit vertical machining center (SRVMC) with the new imported vertical machining center (VMC) from two price-range groups, upper and lower price-range, and to comparatively analyze the effectiveness and efficiency criteria of the machines. The machines were selected by purposive sampling. The machine owners manuals, their specifications, and VMC companies’ web sites, including the actual practical applications were utilized to collect the data for this study. The standard functions of performance and quality of fabrication were used as the effectiveness criteria to evaluate both SRVMC and the Japanese VMC, while applying the concept of the Time-driven Activity-based Costing (TDABC) model to investigate all machine efficiency. The findings are: the effectiveness criteria of SRVMC are within the standard functions and quality performances; the SRVMC total production cost for 10 pieces of head clamps is 11.47 percent lower than the Japanese VMC, which is equivalent to Baht 2,056,092 per year; and the SRVMC investment cost is equivalent to 38 and 50 percent of the upper- and a lower price-range groups respectively.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย