การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา จากกรณีตัวอย่าง รายวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1

ผู้แต่ง

  • สายสุนีย์ เจริญสุข คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

รายวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1, Programming I, กระบวนการแก้ปัญหา, computer programming courses 1, (Programming I), problem solving

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาจากการเรียนรู้โดยใช้ กระบวนการคิดแก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่าง (2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางการเขียนโปรแกรม ของนักศึกษาจากการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่าง (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ นักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยการเขียน โปรแกรม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน (3) แบบประเมินการนำเสนอผลงาน และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา จากกรณีตัวอย่าง เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคอร์ท สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่าง ได้ร้อยละ 77.30 (2) นักศึกษามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางการเขียนโปรแกรมของนักศึกษาจากการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ คิดแก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่าง ได้ร้อยละ 67.79 (3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่างในภาคทฤษฎีโดยรวมอยู่ระดับมาก

 

Developing Instructional Materials on Problem-Solving Ability: A Case of the Sample in Learning Computer Programming I

The purposes of this study were (1) to study the academic achievement of students in the learning process by using a problem solving solution. (2) to study the ability of students to solve problems through a process of learning by using a case of the sample in learning computer programming I. (3) to study of student satisfaction with the learning process. The sample used in this study were business information technology students who were enrolled in first semester of 2554 academic year, The researcher conducted the study an follows: (1) tested their ability to solve problems by having them write programs. (2) administered an achievement test before and after tested the learning process began (3) evaluated the presentations and (4) evaluated the satisfaction of students with the learning process by using a solution of the sample. The 5-level rating scale is based on the concept of the Liquor Mart. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation. The hypotheses were tested using t-test. The results showed that: (1) student achievement, the learning process using a solution of the approximate percentage of 77.30, which was higher than the 60 percent (2) Students have the ability to solve the problem through, a student of the learning process using a solution of the approximate percentage of 67.79, which is higher than the 60 percent (3) satisfaction of students with the learning process though. The theoretical solution of the sample were at high level.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย