Web 2.0: สิทธิในการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนสังคมสารสนเทศ

ผู้แต่ง

  • ปัทมาภรณ์ ธรรมทัต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สุคนธ์ทิพย์ คำจันทร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

เว็บ 2.0, สิทธิในการสื่อสาร, สังคมสารสนเทศ, การขับเคลื่อนสังคมสารสนเทศ, web 2.0, right to communicate, information society, information society movement

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบการสื่อสารของโลกได้เปิดโอกาสให้สิทธิในการสื่อสารมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเรื่องการสื่อสารด้วย Web 2.0 ที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนสังคมสารสนเทศ บทความนี้ ได้อธิบายถึงการใช้ Web 2.0 ในการขับเคลื่อนสังคมสารสนเทศ และการแพร่กระจายด้วยสิทธิในการสื่อสาร การพัฒนาของ Web 2.0 ได้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงวิธีการที่ Web 2.0 มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการขับเคลื่อนสังคม สารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร สิทธิในการสื่อสารจึงเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของการเข้าถึงแหล่งของการสื่อสาร ที่เกิดจากการไหลเวียนของเครือข่ายสารสนเทศด้วยการใช้เทคโนโลยี Web 2.0 เกิดพัฒนาการของการมีส่วนร่วม การแสดงเสรีภาพทางความคิด สิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิมนุษยชน และการแสดงออกทางวัฒนธรรม และภาษาซึ่งเกิดขึ้นจากการพัฒนาด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล สิทธิในการสื่อสารจึงเป็นความคาดหวังด้าน การสื่อสารของมนุษย์ซึ่งมีสิทธิพื้นฐานในการตัดสินใจเลือกการสื่อสารใดๆ บนสังคมสารสนเทศได้อย่างมีเสรีภาพ

 

Web 2.0: The Right to Communicate for Information Society Movement

The development of global communications systems present an opportunity to advance communication rights, specifically the right to communicate by using Web 2.0 tools as a good complement for information society movement. This paper describes the social society movement for a right to communicate and the discourse surrounding Web 2.0 development, with demonstrate how Web 2.0 is a manifestation of an on going interaction between human rights social movement and communication technology. The right to communicate relates to access to communication resources, flow of Web 2.0 information networking, participation in development, intellectual freedom, intellectual property rights, and culture and linguistic identity that are arising out of rapid development of global and interpersonal communication. The right to communicate is the expectation in the basic human communication for decision making in freedom to choose any type of communication in information society.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ