พัดลมระบายอากาศผลิตไฟฟ้าสำหรับโรงเรือนเลี้ยงผลิตไก่เนื้อ

ผู้แต่ง

  • ธีรศาสตร์ คณาศรี ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • จิตกรณ์ เพรชภักดี ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

พลังงานไฟฟ้า, พัดลมระบายอากาศ, โรงเรือนเลี้ยงไก่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาพัดลมระบายอากาศผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ ใช้หลักการระบบสะสมพลังงานจากฟลายวีล หรือล้อตุนกำลัง (Flywheel Energy Storage System--FESS) จากพัดลมระบายอากาศขนาดใบพัด 50 นิ้ว ปริมาณลม 18,500 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที มีโครงสร้างขนาด กว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 108 x 137 x 40 เซนติเมตร ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนสายพานเพื่อดึงพูเล่ย์ให้ใบพัดสร้างแรงลม บนแกนเพลาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกำลัง 15 kVA ทำงานร่วมกับระบบสะสมพลังงาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะดึงสายพานด้วยความเร็วคงที่ 1,500 รอบต่อนาที ผลิตพลังงานไฟฟ้าให้กับภาระโหลดหลอดแสงสว่างแอลอีดีในโรงเรือนเลี้ยงไก่ด้วยแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลท์, 50 เฮิรตซ์ การทดลองเพื่อหาความเหมาะสมมอเตอร์ไฟฟ้าใช้ขนาด 1 และ 3 แรงม้า มีความเร็วรอบ 1,450 และ 2,830 รอบต่อนาที ตามลำดับ วัดความเร็วรอบจากแรงดึงให้เพลาหมุน เปรียบเทียบพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบสะสมพลังงาน ผลการทดลองพบว่า การคำนวณอัตราการหมุนล้อตามเท่ากับ 790 รอบต่อนาที ให้หมุนล้อขับแกนหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพิ่มขึ้นที่ความเร็วรอบ 1,550 รอบต่อนาที ผลการเปรียบเทียบการมอเตอร์ไฟฟ้าใช้ขนาด 3 แรงม้า ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าจากระบบสะสมพลังงานสูงสุด 1.2 กิโลวัตต์ เมื่อทำงานร่วมกับล้อตุนกำลังขณะไม่ใช้ใบพัดลมมอเตอร์ไฟฟ้าทั้งสองขนาด พบว่า มีอัตราความเร็วมอเตอร์ต่างกันคิดเป็นร้อยละ 50 และการต่อสายพานร่วมกับใบพัดลมส่งผลทำให้มีความเร็วลม 7.5 เมตรต่อวินาที ผลการวิจัยพบว่า เมื่อถูกนำมาสร้างเป็นแนวทางการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่ช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อเดือน 10,000 บาท

References

Geidtruad, P., Simma, T., Chaiammarit, K., & Wisawapat Thanatorn, S. (2017). A study on self excited induction generator operating method for flywheel energy storage system. Electrical Engineering Network Journal, 1(1), 24-27. (in Thai)

Mannfros, B., & Hautala, M. (2011). Microclimate in animal houses based on animal welfare: recommendations for ventilation and temperature (p.102). Helsinki: Department of Agricultural Sciences publications 6. University of Helsinki.

McGahan, E.J., Davis, R.J, & Poad, G (2012). Quantifying on-farm energy usage in the Australian meat chicken industry (Report No. PRJ-005770). Australia: Rural Industries Research & Development Corporation (RIRDC)

Makpoon, L., Veeravatnanond, V., & Nilkham, T. (2016). Results of using model of total electric energy management using participatory learning process of Okamoto Textile (Thailand) Co Ltd in Sahapat Industrial Park, Parchinburi Province . EAU Heritage Journal Science and Technology, 8(1), 98-111. (in Thai)

Office of Agricultural Economics. (2017). Agricultural production data. Retrieved from http://www.oae.go.th/view/1/Home. (in Thai)

Rajaniemi, M. & Ahokas J. (2012). A case study of energy consumption measurement system in broiler production. Agronomy Research Biosystem Engineering, Special 1, 195-204. https://agronomy.emu.ee/vol10Spec1/p10s122.pdf

Salas, R., Orden, E., & Orden, M. E. (2016). Productivity and financial viability of commercial broiler farm using climate controlled system: The case in a State-Owned University in Nueva Ecija, Philippine. The CLSU International Journal of Science and Technology, 1(1), 32-45. https://doi.org/10.22137/ijst.2016.v1n1.04

Tabler, G. T. (2007). Applied broiler research farm report: Electricity usage before and after renovation. Avian Advice, 9(2), 4-5. https://www.thepoultrysite.com/articles/applied-broiler-research-farm-report-electricity-usage-before-and-after-renovation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย