เจาะความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม 4.0 และความอยู่รอดในยุคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ฐิติกร หมายมั่น 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ชำนาญ ทองมาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • บัณฑิต รัตนไตร หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • กฤติมา เหมวิภาต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

อุตสาหกรรม 4.0 โควิด-19, ตัวชี้วัดความพร้อมอุตสาหกรรม, เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ นำเสนอความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรม 4.0 ในปัจจุบันว่าได้ขับเคลื่อนไปในลักษณะใดบ้าง ซึ่งจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบความเคลื่อนไหว 3 ประเด็นสำคัญ คือ (1) แนวคิดการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในประเทศและต่างประเทศ (2) การประเมินความพร้อมของอุตสาหกรรมผ่านตัวชี้วัด และ (3) ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อเจาะรายละเอียดแต่ละประเด็น ทำให้สรุปแนวคิดองค์รวมของการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 จากประเทศที่ศึกษา คือ ประเทศเยอรมนี สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และไทย ได้เป็น 6 มิติ คือ (1) ด้านผลิตภัณฑ์ (2) ด้านกระบวนการผลิตและการบำรุงรักษา (3) ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม (4) ด้านบุคลากร (5) ด้านองค์การ และ (6) ด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนประเด็นความเคลื่อนไหวที่ได้จากการศึกษางานวิจัยด้านการประเมินความพร้อมของอุตสาหกรรม สรุปตัวชี้วัดได้ 7 ตัวชี้วัด คือ (1) ด้านทรัพยากรมนุษย์ (2) ด้านเทคโนโลยี (3) ด้านกลยุทธ์ (4) ด้านโครงสร้างองค์การ (5) ด้านกระบวนการ (6) ด้านการปฏิบัติการอัจฉริยะ และ (7) ด้านผลิตภัณฑ์และบริการอัจฉริยะ จากความเคลื่อนไหวในการพัฒนาและการเตรียมความพร้อม สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมกำลังเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานก็ตาม ในวิกฤตนั้นยังมีโอกาสให้เกิดความอยู่รอดของอุตสาหกรรมได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้รับมือกับ COVID-19 ซึ่งประกอบด้วย ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence--AI) ข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ (big data and analytics) อินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรมและคลาวด์ (industrial internet and cloud) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things--IoT) อินเทอร์เน็ตของการแพทย์ (Internet of Medical Things--IoMT) ความจริงเสมือน (Virtual Reality--VR) เพิ่มความเป็นจริง (augmented reality) โซลูชั่นการผลิตขั้นสูง (advanced manufacturing solutions) การผลิตสารเติมแต่ง (additive manufacturing) การจำลอง (simulation) การบูรณาการแนวนอน/แนวตั้ง (Horizontal/Vertical Integration) เทคโนโลยีโดรนและหุ่นยนต์อิสระ (drone technology and autonomous robots) 5G บล็อคเชน (Blockchain) ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber-security) และเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D printing)

 

References

Abdel-Basset, M., Chang, V., & Nabeeh, N. A. (2021). An intelligent framework using disruptive technologies for COVID-19 analysis. Technological Forecasting and Social Change, 163, 120431. https://doi.org/10.1016/j.techfore.2020.120431

Acioli, C., Scavarda, A., & Reis, A. (2021). Applying industry 4.0 technologies in the COVID–19 sustainable chains. International Journal of Productivity and Performance Management, 70(5), 988-1016. https://doi.org/10.1108/IJPPM-03-2020-0137

Chaopanitcharoen, S., & Opasanon, S. (2019). Development of performance indicators for assessing industry 4.0 readiness of first tier auto-part enterprises in Thailand. Chulalongkorn Business Review, 41(161), 1-40. (in Thai)

Chinachoti, P., Charnkit, P., Wangthong, S., & Kittipongpittaya, G. (2019). The preparedness assessment of industrial business sector towards industrial 4.0 era in Thailand. MUT Journal of Business Administration, 16(1), 73-89. (in Thai)

Department of International Trade Promotion. (2021). A look at the progress of China’s made in China 2025 policy. Retrieved from https://www.ditp.go.th (in Thai)

Hussain, A., Farooq, M. U., Habib, M. S., Masood, T., & Pruncu, C. I. (2021). COVID-19 challenges: Can industry 4.0 technologies help with business continuity?. Sustainability, 13(21), 11971. https://doi.org/10.3390/su132111971

Lepore, D., Micozzi, A., & Spigarelli, F. (2021). Industry 4.0 Accelerating sustainable manufacturing in the COVID-19 era: Assessing the readiness and responsiveness of Italian Regions. Sustainability, 13(5), 2670. https://doi.org/10.3390/su13052670

Ministry of Industry. (2016). Strategy for the development of Thai industry 4.0 in 20 years (2017-2036). Retrieved from http://www.oie.go.th (in Thai)

Mokmued, K. (2019). Singapore’s transformation towards Industry 4.0. Retrieved from https://wiki.ocsc.go.th (in Thai)

National Electronics and Computer Technology Center. (2021). SMC and industry 4.0 in the Thai context. Retrieved from https://www.nectec.or.th/news/news-article/smc-ida-synhub.html (in Thai)

National Science and Technology Development Agency. (2021). The country’s key infrastructure for automation, robotics and intelligent electronics in the Eastern Economic Corridor (EECi) innovation zone. Retrieved from https://www.nstda.or.th/nac/2021/2021/03/13/na19-sustainable-manufacturing-center/ (in Thai)

Pudpong, R. (2020). Smart industry readiness index. Retrieved from https://www.eeci.or.th (in Thai)

Ramanchit, S. (2021). Manufacturing of the future with industry 4.0. Retrieved from http://eit.bsru.ac.th/wp-content (in Thai)

Sawangsamut, C. (2021). Preparation of Thai industrial sector towards-industry4.0. Retrieved from https://www.eeci.or.th (in Thai)

Suppavatee, C. (2019). 4 Japanese “Smart” that modern industries need to pay attention to in order to step into the intelligent era. Retrieved from https://www.theeleader.com/digital-transformation (in Thai)

Sutanon, T. (2018). Keep an eye on how Germany-Singapore-Taiwan readiness to assess for industry 4.0-Thai. Substance Industry Journal of the Department of Industrial Promotion, 60(September–October), 34-38. (in Thai)

Thai-German Institute. (2019). Handbook of industrial factory development towards being a smart factory. Retrieved from https://www.tgi.or.th (in Thai)

The Federation of Thai Industries. (2016a). Management of labor problems in the COVID-19 epidemic situation. Retrieved from https://fti.or.th (in Thai)

The Federation of Thai Industries. (2016b). Upgrading Thai industry to industry 4.0 (industry 4.0). Retrieved from http://www.nfcrbr.or.th (in Thai)

Ueavivatsakul, S. (2020). Impact and direction of the industrial sector after the epidemic situation of COVID-19. Retrieved from https://bit.ly/3r33hCb

Wongtharaw, A. (2019). Cement industry 4.0. Retrieved from http://www.oie.go.th (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ