พฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวมแบบปกติใหม่ (New Normal) ของสมาชิกครอบครัวในชุมชนที่เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • วรินทร์ลดา จันทวีเมือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • สกุนตลา แซ่เตียว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • จินตวีร์พร แป้นแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวมแบบปกติใหม่, สมาชิกครอบครัว

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวมแบบปกติใหม่ (New Normal) อธิบายสภาพการณ์และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวมแบบปกติใหม่ (New Normal) ของสมาชิกครอบครัวในชุมชนที่เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ สมาชิกครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลหลักของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในชุมชนเมือง เขตเทศบาลนครสงขลา และเป็นแหล่งฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล จำนวน 78 ครอบครัว เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวมแบบปกติใหม่ (New Normal) ของสมาชิกครอบครัว มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ สมาชิกครอบครัว ฯ ที่มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุ ฯ ในระดับมากและมากที่สุด จำนวน 10 ราย โดยใช้หลักความอิ่มตัวของข้อมูล (saturated data) เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวมแบบปกติใหม่ (New Normal) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.16 SD=0.66 ) และผลการศึกษาเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 7 ประเด็น ได้แก่ (1) ดูแลร่างกายตามภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ (2) ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด (3) ติดตามข่าว ร่วมพูดคุย ทำกิจกรรมคลายเครียด (4) ลดกิจกรรมทางสังคม และใช้โทรศัพท์หรือการสื่อสารออนไลน์แทน (5) ดูแลให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข (6) ดูแลความเป็นอยู่ทั่วไป และ (7) เน้นรักษาความสะอาด และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดูแลผู้สูงอายุ 5 ประเด็น ได้แก่ (1) มีความรู้และตระหนักในปัญหา (2) สมาชิกครอบครัวช่วยกันดูแล (3) มีความพร้อมเรื่องการเงิน (4) มีเวลาอยู่บ้าน และ (5) ความรักความผูกพันในครอบครัว ดังนั้น หน่วยงานด้านสุขภาพควรนำผลการวิจัยไปวางแผนดูแลครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา เพื่อให้ผู้สูงอายุคงไว้ซึ่งสุขภาพดีและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

References

Boonsiripan, M. (2020). To know “New Normal” Royal Thai Council Issue. Retrieved from https://news.thaipbs.or.th/content/292126. (in Thai)

Chantavanit, S. (2013). Qualitative methods. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Chantawibul, A., Sanugul, P., Jensarikorn, P., & Arphacharus, N. (2020). The study of the environmental health management in urban slums during COVID-19 outbreak. Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health, 2020(July-September), 91-109. (in Thai)

Department of Disease Control, Ministry of Health. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19). Retrieved from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php. (in Thai)

Department of Disease Control. (2021). Coronavirus disease 2019 situation. Retrieved from https://ddc.moph.go.th/odpc9. (in Thai)

Department of Mental Health. (2020). Realize, not frightened, step through COVID-19 crisis. Retrieved from https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288. (in Thai)

Glomjai, T., Kaewjiboon, J., & Chachvarat, T. (2020). Knowledge and behavior of people regarding self-care prevention from novel Coronavirus 2019 (COVID-19). Journal of Nursing, Public Health, and Education, 21(2), 29-39. (in Thai)

Institue of Occupational Safety, Health and Environment Promotion. (2021). New Normal. Retrieved from https://www.tosh.or.th. (in Thai)

Khemaweero, W., Pattanasing, T., Khankaew, T., Khumtua, K., & Lapontan, S. (2017). Enhancement of elder people’s Spiritual Well-Being according to Buddhism Doctrines. Journal of MCU Peace Studies, 5(1), 78-88. (in Thai)

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Muangpaisarn, V. (2014). Why the elderly be simply infect. Retrieved from https://www.si.mahidol.ac.th/. (in Thai)

Naidoo, J., & Wills, J. (2009). Foundation for health promotion. New York: Bailliere Tindall.

Pariyattidhammawibool, I. C., Kittisobhano, P., & Klomkul, L. (2018). A model of promoting the Spiritual Well-Being of the elder in Buddhist Psychology. Rommayasan, 16(special), 413-430. (in Thai)

Phalasuek, R., & Thanomchayathawatch, B. (2017). A family model for older people care. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 4(3), 135-150. (in Thai)

Public Health Emergency Operation Center, Songkhla Provincial Public Health Office. (2021). Coronavirus disease 2019 epidemic situation. Retrieved from https://www.skho.moph.go.th/eoc. (in Thai)

Srisaad, B. (2010). Basic research (8th ed.). Bangkok: Suveriyasarn. (in Thai)

Sasuad, K. (2015). Factors affecting the quality of life of the elderly in the Eastern Province. Retrieved from https://rdi.nrru.ac.th/rdi/rdi_journal. (in Thai)

Sonthichai, C. (2016). Basic knowledge in immune boosting. Retrieved from http://guruvaccine.com/elearn/. (in Thai)

Sukadisai, P. (2014). Life style and guidelines for well being of the elderly in the Eastern Region (Doctoral dissertation). Burapa University. Chon Buri. (in Thai)

Thangkhathok, P. (2020). Open survey results about health literacy to prevent COVID-19, misunderstanding stay out of the house. Retrieved from https://www.hfocus.org/content/2020/04/18851. (in Thai)

Thai Society of Gerontology and Geriatric Medicine, Institue of Geriatric Medicine, Division of Mental Health Promotion and Development & The Alzhemeimer’s Disease and Related Disorders Association. (2020). Caring guidelines for the elderly in Coronavirus disease 2019 epidemic situation. Journal of Gerontology and Geriatric Medicine, 19(1), 1-4. (in Thai)

Wacharakoop, Y. & Jitsuchon, S. (2020). Effect of COVID-19 among older adult. Retrieved from https://tdri.or.th/2020/09/the-impact-of-covid-19-on-older-persons. (in Thai)

UNFPA Thailand. (2021). Conclusion of executive: Effect of COVID-19 among the elderly. Retrieved from https://thailand.unfpa.org/th/covid-op. (in Thai)

Yuanjai, A., Klinkhajon, U., Woramalee, S., & Watcharakasemsuntron, J. (2020). A case of coronavirus disease 2019: Case report. Siriraj Medical Bulletin (SMB), 13(2), 155-63. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย