การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อการให้ความรู้ด้านสุขภาพสำหรับบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • รุ่งฤดี ล่ำชม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อภิรักษ์ แสนใจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

สื่อออนไลน์, ความรู้ด้านสุขภาพ, บุคลากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดศึกษากลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง (one group pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อการให้ความรู้ด้านสุขภาพสำหรับบุคลากร และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของสื่อออนไลน์เพื่อการให้ความรู้ด้านสุขภาพสำหรับบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 98 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ Paired sample t-test ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจต่อการให้ความรู้ด้านสุขภาพสำหรับบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก ด้านคุณภาพสื่ออยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการนำไปเผยแพร่อยู่ในระดับมาก โดยก่อนและหลังการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการให้ความรู้ด้านสุขภาพสำหรับบุคลากร มีความรู้ด้านสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยคะแนนเฉลี่ยภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำสื่อออนไลน์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อการให้ความรู้ด้านสุขภาพในหน่วยงานได้

References

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall Inc.

Bloom, S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Boonlert, K., & Urit, T. (2016). Effect of printed media to promote the exercise attitude of employees in medium-sized gas stations. Local Research toward Education Evolution The 1st Rajabhat Nakhon Sawan Research Conference 2016 (pp. 25-39). Nakhon Sawan: Nakhon Sawan Rajabhat University. (in Thai)

Boonworasathit, S. (2015). Factors influencing health-promoting behaviors of prison officers in Department of Corrections, Nakhon Ratchasima Province (Master’s thesis). Burapha University. Chonburi. (in Thai)

Chubchuenkamol, N. (2017). Health status of personnel of Thanyarak Mae Hong Son Hospital (Research report). Mae Hong Son: Thanyarak Mae Hong Son Hospital. (in Thai)

Department of Health, Ministry of Public Health. (2018). Department of Health concerned about working age, found that more than 30 percent of obesity. Retrieved from https://bit.ly/3lGGYjr. (in Thai)

Division of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2017). Annual report 2017. Bangkok: Aksorn Graphic and design publishing Limited Parrtnership. (in Thai)

Jump, N. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw Hill.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Laphimon, S., Citeiy, S., & Rattanapanya, S. (2018). Development of health media on Dengue Hemorrhagic Fever prevention for Lahu Health Leaders Papong Sub-district Doisaket District Chiang Mai Province. Journal of the Asian Graduate College, 8(1), 58-63. (in Thai)

Oudtha, I., & Akraudom, A. (2016). Online health communication strategies through the Facebook Fanpage of Phayathai Hospital. Journal of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 5(2), 145-156. (in Thai)

Pender, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice. Norwalk: Appleton & Lange.

Phuengbua, S. (2019). Development of online lessons on internet subject with Google Classroom Application for students grade 7 (Master’s thesis). Burapha University. Chonburi. (in Thai)

Vimonwattana, N., Sangkapong, T., & Panriansaen, R. (2017). Factors affecting the health promotion behaviors of professional nurses in Faculty of Medicine, Vajira Hospital, Navamindradhiraj University. Kuakarun Journal of Nursing, 24(2), 67-81. (in Thai)

World Health Organization (WHO). (2018). Noncommunicable diseases updated 1 June 2018. Retrieved from http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย