สาเหตุการเกิดอุบัติการณ์ความผิดพลาดขณะฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
สาเหตุการเกิดอุบัติการณ์, ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของการเกิดอุบัติการณ์ความผิดพลาดขณะฝึกปฏิบัติการบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล ผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 33 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ในโรงพยาบาลที่มีนักศึกษามีประสบการณ์เกี่ยวกับอุบัติการณ์ความผิดพลาด ได้แก่ อาจารย์พี่เลี้ยงจำนวน 22 คน จากโรงพยาบาลจำนวน 2 แห่ง อาจารย์พยาบาลจำนวน 8 คน และนักศึกษาพยาบาลที่มีประสบการณ์การทำหัตถการผิดพลาดจำนวน 3 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิเคราะห์เนื้อหา ตามแนวคิดของเบนเนอร์ (1994) ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการเกิดอุบัติการณ์ความผิดพลาดขณะฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล นั้น ผู้ให้ข้อมูลสะท้อน ความรู้สึกและความคิดเห็นสรุปเป็นประเด็นดังนี้ (1) ความผิดพลาดที่เกิดขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักเกิดจากการบริหารยา การติดเชื้อ การรายงานและการสื่อสาร (2) สาเหตุของความผิดพลาดที่เกิดขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยเกิดจากความไม่พร้อมของนักศึกษา ด้านความรู้ ด้านร่างกาย ด้านทักษะและประสบการณ์ (3) แนวทางเพื่อการป้องกันความเสี่ยงจากการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย ได้แก่ ควรจัดให้มีอาจารย์นิเทศหรืออาจารย์พี่เลี้ยงทุกวันเพื่อดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมทั้งอาจารย์พยาบาลและอาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษา ในประเด็นเกี่ยวกับ ความรู้ ทักษะปฏิบัติ การใช้อุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ รวมทั้งควรจัดให้มีการเรียนรู้ความผิดพลาดที่ผ่านมาร่วมกัน และการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับนักศึกษาแต่ละชั้นปี
References
Benner, P. (1994). Interpretive Phenomenology: Embodiment, Caring, and Ethics in Health and Illness. Thousand Oak, CA: SAGE Publications, Inc. http://dx.doi.org/10.4135/9781452204727.
Boonmee, P., Mahamitrwongsan, S., & Kavila, M. (2018). Knowledge, perception and awareness towards risk management and the safety of patients in nursing students at Boromaraj College of Nursing Chonnee Phayao. Journal of Nursing and Education, 11(3), 112-124. (in Thai)
Boonrawdrak, C., Khumyoo, A., & Wongsuttitham, S. (2019). Factors predicting competence in patient safety of professional nurses community hospital Chonburi Province. Naval Medical Journal, 46(3), 552-565. (in Thai)
Jongpuntanimitr, P. (2018). Risk management in high-risk drug use among nursing students. Journal of Phrapokklao College of Nursing, Chanthaburi, 29 (1), 208-218. (in Thai)
Khemthong, S. (2016). Factors Relating to Drug Tolerance Risk Management of Professional Nurses in a Private Hospital (Master’s thesis). Burapha University. Chon Buri. (in Thai)
Kumkong, M. (2019). Patient safety: A guideline to nursing practicum. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(1), 216-228. (in Thai)
Kumkong, M., & Nasae, J. (2020). Risk management in nursing practicum The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(3), 10-22. (in Thai)
Leonard, V. W. (1989). A Heideggerian phenomenologic perspective on the concept of the person. ANS: Advances in Nursing Science, 11(4), 40–55. https://doi.org/10.1097/00012272-198907000-00008.
Lohlekha, S. (2012). Prevention of Impeachment. In Doctor Mai (page 7-8). Nonthaburi: The Secretariat of the Medical Council. Retrieved from http://www.tmc.or.th/news_file/detail_ letter_ doctor / doctor55_2.pdf. (in Thai)
National Health Security Office. (2014). Report on the creation of universal health coverage for the year 2014. Retrieved from https://www.nhso.go.th/frontend/page-about_result.aspx. (in Thai)
Summawart, S. (1998). Errors in practice of nursing students. Ramathibodi Nursing Journal, 4(2), 190-203. (in Thai)
Southwick, F. S., Cranley, N. M., & Hallisy, J. A. (2015). A patient-initiated voluntary online survey of adverse medical events: The perspective of 696 injured patients and families. BMJ Quality & Safety, 24(10), 620–629. https://doi.org/10.1136/bmjqs-2015-003980.
Vincent, C. (2010). Patient safety (2nd ed.). Chichester: Wiley Blackwell.
World Health Organization (WHO). (2009). Conceptual framework for the international classification for patient safety: Final technical report January 2009. Retrieved from https://bit.ly/3g3OXmt.
World Health Organization (WHO). (2011). Global status report on noncommunicable disease, 2010. Geneva: World Health Organization.