การใช้น้ำหมักสัปปะรดและน้ำหมักน้ำซาวข้าวในการลดปริมาณซีโอดี น้ำมันและไขมันจากร้านอาหารริมทางคลอง 6 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สุธาสินี ผากา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • อาภาพร รุจิระเศรษฐ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

น้ำหมักสับปะรด, น้ำหมักน้ำซาวข้าว, ร้านอาหารริมทางคลองหก

บทคัดย่อ

น้ำเสียจากร้านอาหารริมทางเกิดจากการประกอบอาหาร การล้างวัตถุดิบ การล้างภาชนะ หรือล้างพื้น ปล่อยลงแม่น้ำ ลำคลองโดยตรง ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำและก่อให้เกิดอันตรายต่อพืชน้ำ สัตว์น้ำและมนุษย์ น้ำหมักชีวภาพจากการหมักพืชหรือสัตว์กับน้ำตาลหรือกากน้ำตาลก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งมีราคาถูก สามารถใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพโดยใช้น้ำหมักสับปะรด และน้ำหมักน้ำซาวข้าวที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน ในการลดค่าซีโอดี น้ำมันและไขมันในน้ำเสียร้านอาหารริมทางคลองหก ที่ระยะเวลากักเก็บ 21 วัน โดยพารามิเตอร์ที่ทำการศึกษา ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) อุณหภูมิ (temperature) ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand--COD) และน้ำมันและไขมัน (fat, oil and grease) พบว่า น้ำเสียเข้ามีค่าเฉลี่ย 381.00±00 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำเสียที่เติมน้ำหมักสับปะรด โดยสามารถลดค่าซีโอดีที่ดีที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 171.20±30.97 มิลลิกรัมต่อลิตร มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดร้อยละ 73.80 ที่ความเข้มข้นอัตราส่วน 30:70 และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ .05 (p-value <.05) ส่วนน้ำเสียที่เติมน้ำหมักสับปะรด โดยสามารถลดค่าน้ำมันและไขมันที่ดีที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.50±2.12 มิลลิกรัมต่อลิตร มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดร้อยละ 98.56 ที่ความเข้มข้นอัตราส่วน 30:70 และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ .05 (p-value <.05) จากการศึกษายังพบว่า น้ำเสียที่เติมน้ำหมักน้ำซาวข้าวไม่สามารถลดค่าน้ำมันและไขมันได้

References

Boonpienpon, N. (2017). Street Food: Thailand’s Charm for a New Tourism Experience in Asia. Veridian E-Journal,Silpakorn University Humanities, Social Sciences, and Arts, 10(1), 47-60. (in Thai)

Kingkaewcharoenchai, C. (2017). Street food 4.0. Food and Water Sanitation Journal, 9(1), 2-3. (in Thai)

Kornochalert, N. (2014). Enhancement of phototrophic Bacterial growth by fermented plant extract for treating latex rubber wastewater (Master’s thesis). Prince of Songkla University. Songkla. (in Thai)

Niyomdacha, C., & Chareanrit, P. (2017). Study on the optimum ratio of bio-fermented from pineapple bark to remove the contaminated oil in synthetic wastewater (Master’s thesis). Songkhla Rajabhat University. Songkla. (in Thai)

Nonta, S., Othong, S., & Chamchoi, N. (2016). Lactic Acid production from fruit waste fermentation. HCU JOURNAL, 20(39), 1-14. (in Thai)

Phadungath, C. (2018). Development of pineapple cider beverage from low valued pineapple in Ratchaburi. The 5th Rajabhat University National & International Research and Academic Conference (pp. 169-176). Phetchaburi: Phetchaburi Rajabhat University. (in Thai)

Pollution Control Department. (2017). Domestic wastewater treatment manual. Bangkok: Pollution Control Department. (in Thai)

Sansuk, Y. (2014). An appropriate domestic wastewater system for local administration organization: Case study of Tambol Chae Municipality, Konburi District, Nakhonratchasima Province (Master’s thesis). Suranaree University of Technology. Nakhonratchasima. (in Thai)

Simanant, C. (2019). Tropical fruit bio extract (Research report). Bangkok: Faculty of Liberal Arts, Siam University. (in Thai)

Tancho A. (2008). Organic farming and sustainable agriculture in Thailand. Pathumthani: National Science and Technology Development Agency. (in Thai)

Thepnarong, K., Chiayvareesajja, S., & Kantachote, D. (2015). Efficiency of fermented organic matter and Effective Microorganism (EM) Ball for treating effluent from freshwater aquaculture. Thaksin Journal, 18(1), 15-22. (in Thai)

Thuwakham, N., & Funfuenha, W. (2019). Efficiency of bio extract from fruits residues towards Green Oak Leaf Lettuce Growth. KKU Science Journal, 47(2), 266-272. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย