ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน

ผู้แต่ง

  • ธีรพงศ์ บริรักษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • พงษ์สวัสดิ์ คชภูมิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ณรงค์ ภู่อยู่ กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
  • วรลักษณ์ เสถียรรังสฤษฎิ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ตู้อบแห้งแบบผสมผสาน, ความชื้นสัมพัทธ์, ความชื้นมาตรฐานเปียก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการถนอมอาหารด้วยวิธีการตากแห้งโดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งมีข้อจำกัดในการผลิตจากการอาศัยการแผ่รังสีความร้อนแต่เพียงอย่างเดียวทำให้บางฤดูกาลการตากแห้งผลิตภัณฑ์ไม่สามารถทำได้เช่น ฤดูฝน หรือในวันที่ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมทำให้แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง จากการศึกษากระบวนการอบแห้งด้วยตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบตั้งอยู่กับที่โดยใช้ตู้กระจกขนาด กว้าง 45 cm ความยาว 108 cm และ ความสูง 38.5 cm กระจกเอียงทำมุม 45o ใช้กล้วยน้ำว้า เป็นผลิตภัณฑ์ในการทดสอบทำการติดตั้งเครื่องมือวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในและภายนอกตู้อบแห้ง ทำการทดสอบในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ใช้ระยะเวลาในการตากแห้ง 8 ชั่วโมงต่อวันทำการทดสอบตั้งแต่เวลา 9.00 – 17.00 น.จากการทดสอบใช้ระยะเวลารวม 24 ชั่วโมง ต่อการอบ 1 ครั้ง สามารถอบได้ครั้งละ 144 ลูก น้ำหนักเริ่มต้นจากผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเฉลี่ย 46.93 g น้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 23.41 g ความชื้นมาตรฐานเปียกสุดท้ายในผลิตภัณฑ์มีค่าเท่ากับ 29.6% wb อุณหภูมิเฉลี่ยภายในตู้มีค่าเท่ากับ 48.47 °C จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นได้นำมาออกแบบตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน ด้วยวิธีการใช้ลมร้อนจากฮีตเตอร์แบบครีบ ขนาดกำลังไฟฟ้า 1800 วัตต์ ร่วมกับการใช้ตู้ตากแห้งแบบตั้งอยู่กับที่ ซึ่งทำงานโดยการใช้ชุดควบคุมอุณหภูมิ จากการทดสอบตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน ในวันที่ฝนตกและมีเมฆปกคลุม ใช้เวลารวม 24 ชั่วโมงน้ำหนักเริ่มต้นจากผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเฉลี่ยที่ 49.64 g น้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 22.89 g ความชื้นมาตรฐานเปียกสุดท้ายในผลิตภัณฑ์มีค่าเท่ากับ 28.0 % wb อุณหภูมิเฉลี่ยภายในตู้มีค่าเท่ากับ 51.86°C เมื่อเปรียบเทียบจากสีและน้ำหนักสุดท้ายของผลิตภัณฑ์มีค่าใกล้เคียงกันและในการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้ไม่เกิดความสูญเสียระหว่างการผลิต ขนาดของตู้อบเหมาะสำหรับใช้ในการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในครัวเรือนหรือการแปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการอบแห้งด้วยตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานนี้มีคุณภาพและความสะอาดถูกสุขลักษณะ

References

Borirak, T. (2018). Thermal efficiency enhancement of solar dryer using sun tracking system. SWU Engineering Journal, 14(1), 23-32. (in Thai)

Chuewungkham, S., & Phothikanit, U. (2016). Tunnel driey by a combination of solar and biogas (Research report). Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University. (in Thai)

Hudakorn, T. (2009). A study on performance of a v-groove flat plate solar collector for a solar dryer. The 23th Conference of Mechanical Engineering Network of Thailand (pp. 1-8). Chiang Mai: Thai Society of Mechanical Engineers. (in Thai)

Jareanjit, J. (2012). A solar dryer technology and Its development. KKU Research Journal, 17(1), 110-124. (in Thai)

Klabprasitti, A., Supawantanakul, D., Sittisaung, P., & Sangsirimongkolying, R. (2020). Construction of solar cabinet dryer for technology management of processed snakehead fish production. Princess of Naradhiwas University Journal, 12(2), 82-96. (in Thai)

Kurmharn, W., & Saen Rang, D. (2014). Study and development of a solar tunnel dryer for chili in Nangam Sub-district, Renunakhon District, Nakhon Phanom Province (Research report). Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University. (in Thai)

Na Pibul, S. (2015). The Gulao Fish drying process using an electrical energy dryer with PID temperature control. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(2), 1-10. (in Thai)

Narrat Jansri, S. (2017). A study on performance of a solar biomass hybrid dryer for agricultural product. SWU Engineering Journal, 12(1), 1-10. (in Thai)

Pathanibul, A., & Arpornwichanop, A. (2014). Drying technology. Technology Promotion, 41(234), 64 – 67. (in Thai)

Yaibok, T., Phethuayluk, S., WeawSak, J., Mani, M., & Buaphet, P. (2010). Development the fish drying process with a solar-electrical combined energy dryer under the Southern of Thailand Climate. Thaksin University Journal, 12(3), 109-118. (in Thai)

Yotwinyuwong, S. (2017). Mini greenhouse solar dryer for the community. The 4th Kamphaeng Phet Rajabhat University National Conference: Innovative and Technology to drive Thailand 4.0 (pp. 1176-1184). Kamphaeng Phet: Kamphaeng Phet Rajabhat University. (in Thai)

Taikhao, A., & Teekasap, S. (2013). Natural convection and forced convection solar dryers. EAU Heritage Journal Science and Technology, 7(1), 23-31. (in Thai)

Tasara, J., Tirawanichakul, S., & Tirawanichakul, Y. (2014). Strategic development of Crisp Tiny Anchovy using hot air and infrared drying. Burapha Science Journal, 19(1), 1-10. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-16

ฉบับ

บท

บทความวิจัย