สภาพแวดล้อมการทำงาน และพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของพนักงานในสถานประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วิทชย เพชรเลียบ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • พานิช แก่นกาญจน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ณัฐวรรณ เลิศภิญโญชัยถาวร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมการทำงาน, อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล, สถานประกอบกิจการร้าน ซ่อมรถยนต์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการทำงาน และพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของพนักงานในสถานประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 114 คน ประกอบด้วยช่างพ่นสี จำนวน 50 คน และช่างทั่วไป จำนวน 64 คน จากสถานประกอบการทั้งหมด 8 แห่ง กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของคอแครน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า สถานประกอบการทุกแห่งมีรั้ว/ขอบเขตชัดเจน มีการจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ร้อยละ 100.0 และพบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ ไม่มีอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ร้อยละ 62.5 และไม่มีระบบมาตรฐานความปลอดภัย ร้อยละ 50.0 ตามลำดับ ความรู้ด้านความปลอดภัย และทัศนคติด้านความปลอดภัยของกลุ่มช่างพ่นสี และช่างทั่วไป พบว่า ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของกลุ่มช่างพ่นสีส่วนใหญ่ พบว่า ใช้เป็นประจำ ร้อยละ 46.0 ส่วนพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของกลุ่มช่างทั่วไปส่วนใหญ่ พบว่า ใช้เป็นบางครั้ง ร้อยละ 48.4

                ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงาน และเสริมสร้างความตระหนักให้เกิดการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงและส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

References

References

Best, J.W. (1977). Research in Education (3rd ed.). New Jersey: Prentice hall Inc.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on formation and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

Buachaw, P. (2013). Implementation of 5s activity and safety promotion at work of employees at Compart Precision (Thailand) Company Limited. NRRU Community Research Journal, 7(2), 75-82. (in Thai)

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3th ed.). New York: John Wiley & Sons Inc.

Compensation fund. (2017). Situation of danger and illness from work 2011-2015. Retrieved from https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/9b9db9cf77a7fc7d8e1294b280b5382c.pdf. (in Thai)

Danyuthasilpe, C. (2018). Pender’s health promotion model and its applications in nursing practice. Songklanagarind Journal of Nursing, 38(2), 132-141. (in Thai)

Department of Health. (2015). Guideline for risk assessment of environmental health according to the Public Health Act 1992. Bangkok: Ministry of Public Health. (in Thai)

Department of Industrial Works. (2018). Cumulative statistics, the number of factories received Business license According to the Factory Act 1992. Retrieved from http://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=spss61. (in Thai)

Hasan, N. H., Said, M. R., & Leman, A. M. (2013). Health effect from volatile organic compounds and useful tools for future prevention: A review. International Journal of Environmental Engineering Science and Technology Research, 1(2), 28-36. https://bit.ly/3jqdRw6

Intaramuen, M., Darnkachatarn, S., Chuenjaroen, R., Mongkonkansai, J., Nowat, J. Sornpet, W., & Ngeinchalad, A. (2016). Safety behaviors among worker in the garage, Nakhon Municipal Area, Nakhon Si Thammarat Province. Naresuan Research Conference 13. Phitsanulok: Naresuan University. (in Thai)

Monney, I., Dwumfour, A. B., OwusuMensah, I., & Kuffour, R. A. (2014). Occupational health and safety practices among vehicle repair artisans in an urban area in Ghana. Journal of Environmental and Occupational Science, 3(3), 147-153. doi: 10.5455/jeos.20140528072614

Muangmonprasert, S., & Phornprapa, K. (2016). The relation of quality control circle activity and productivity, defect and attitude of teamwork: Case study of T.U.W. Textile Co., Ltd. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 56-70. (in Thai)

Notesupa, S., & Inmuong, U. (2012). Environmental health problems and their resolutions at automobile repair shops at the SakonNakhon municipality. KKU Journal for Public Health Research, 5(3), 15-25. (in Thai)

Occupational Safety and Health Administration. (2004). Personal protective equipment. Retrieved from https://www.osha.gov/Publications/osha3151.pdf.

Phokee, W., Bualoeng, S., & Chaiklieng, S. (2012). A survey about occupational health and safety within automotive repair shops of the KhonKaen municipality. KKU Journal for Public Health Research, 5(3), 77-86. (in Thai)

Pimpaporn, N. (2014). The study for factors which effect to health risk from work of employee in garage. APHEIT Journal, 20(1), 70-80. (in Thai)

Simaroch, Y. (2015). Principle of industrial hygiene control. Retrieved from http://www.safety-stou.com/UserFiles/File/54114-1.pdf. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย