บ้านต้นแบบสุขภาวะสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง

ผู้แต่ง

  • Buntawan Hirunkhro Boromarajonani college of Nursing Chakriraj
  • ดนัย ดุสรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • อัญญา ปลดเปลื้อง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • หฤทัย กงมหา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • นิภา เก่งธัญญกร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าผา

คำสำคัญ:

บ้านต้นแบบ, ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับสุขภาวะของพื้นที่ที่ศึกษา (2) เพื่อพัฒนาบ้านต้นแบบสุขภาวะสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิง (3) เพื่อศึกษารูปแบบบ้านต้นแบบสุขภาวะสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงที่เหมาะสมของชุมชน กลุ่มเป้าหมาย เป็นบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ตำบลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดราชบุรี ได้แก่ ญาติผู้ดูแลและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 21 คู่ แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 15 คน และตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมีทั้งแบบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณได้แก่ แบบคัดกรองสุขภาพ แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง วิธีการศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก คือ (1) ระยะเตรียมดำเนินการโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา (2) ระยะดำเนินการเพื่อพัฒนาบ้านต้นแบบสุขภาวะร่วมกัน (3) ระยะการกำกับติดตามกระบวนการพัฒนา และ (4) ระยะประเมินผล ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) จากการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเชิงลึกพบปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพในระดับสูงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงส่วนใหญ่มีระดับคะแนนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่ำ เป็นผู้มีความพิการอยู่ระดับมาก ซึ่งระดับความพิการส่งผลโดยตรงด้านจิตใจ ต่อผู้ดูแล (2) การพัฒนาบ้านต้นแบบสุขภาวะสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิง ประชาชน ผู้บริหารเทศบาล บุคลากรวิชาชีพด้านสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชนและภาคเอกชนในพื้นที่ มีส่วนร่วมในการสร้างแนวทางการพัฒนาร่วมกัน และ (3) ผลการประเมินรูปแบบบ้านต้นแบบสุขภาวะจากความพึงพอใจของผู้รับบริการพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจโดยรวมสูงกว่าก่อนการดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการรับรู้ปัญหาของผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ทำให้เกิดรูปแบบและระบบการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลการวางแผนและการพัฒนาเป็น “โมเดลบ้านต้นแบบสุขภาวะสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง” สำหรับผู้ป่วยที่ภาวะพึ่งพิงหรือสูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อเป็นการไม่ทอดทิ้งและเป็นส่งเสริมสุขภาพให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้

 

References

Assantachai, P. (2011). Health issues commonly encountered in the elderly and the protection. Bangkok: Union creation. (in Thai)

Chuaoupathum, R. (2010). Nursing care need of caregivers for stroke patients at home. (Master’s thesis). Christian University, Bangkok. (in Thai)

Department of Health. (2014). Long Term Care. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). (2016). Situation of the Thai elderly 2016. Retrieved from http://www.dop.go.th/th/know/2/108 (in Thai)

Gibson, C.H. (1991). A concept analysis of empowerment. JAN, 16(3), 354–361.

Gibson, C.H. (1993). A study of empower in mothers of Chronically Ill in children. Boston: Unpublished doctoral dissertation, Boston College.

Hirunkhro, B. (2017). Development of community and multidisplinary team participated service system for home-based rehabilitation among persons with stroke. Nakhon Phanom University Journal, 7(The 25th anniversary academic conference edition), 36-45. (in Thai)

Hirunkhro, B. (2017). Care management model for elderly stroke patient at home. EAU Heritage Journal Science and Technology, 11(3), 11-21. (in Thai)

Hirunkhro, B., Duangpaeng, S., & Chantawong, C. (2017). Effectiveness of Home-Based Rehabilitation Nursing

program on functional status health perception and health-related quality of life among Ischemic stroke. Journal of Health Science Research, 11(2), 28-37. (in Thai)

Jitrawang, R. (2017). Factors related to the elderly’s participation in the activities of Elderly Club. Kalasin: Naku Hospital. (in Thai)

Kao PraNgam Tessaban Lopburi. (2017). Excellent happy home ward Kao PraNgam Tessaban Lopburi. Lopburi: Kao PraNgam Tessaban Lopburi. (in Thai)

Kasornsunt, P. (2015). A Transitional Care model for stroke patients at Chaopraya Yommarat Hospital. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(1), 83-96. (in Thai)

Kummesrisuk, A. (2012). Management of a social enterprise to generate income among Thai ageing population.

(Doctor dissertation). Thammasat University. Pathum Thani. (in Thai)

National Committee for the Elderly. (2017). Situation of Thai elderly 2015. Nakhon Pathom: Printery printing (in Thai)

Piumboriboon, K & Pongcharoen, C. (2011). Development of care model for stroke in Choapraya Yommaraj at Supanburi. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 21(1), 4-21. (in Thai)

Poolsirikul, S., Wasinon, C., Romyen, L., & Chalakbang, W. (2019). Scenarios for enhancing the quality of life in the next decade: The elderly under the concept of Sufficiency Economy Philosophy. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 9(3), 19-28. (in Thai)

Prasartkul, P. (2017). Situation of Thai elderly 2016. Nonthaburi: Thai Health Promotion Foundation. (in Thai)

Primary Health Care Division. (2017). Guidelines for public health operations 2017. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Ronnarithivichai, C. (2018). Caring of the old persons in aging society. Journal of Nursing Science and Health, 41(4), 136-144. (in Thai)

Thai Health Promotion Foundation. (2017). Care for elderly dependents. Retrieved form: https://www.thaihealth.or.th/Content/35697.html (in Thai)

Thailand Development Research Institute. (2009). Preparing to enter the aging society. Retrieved from

http://tdri.or.th/tdri-insight/aging-society/ (in Thai)

Thanomsaksri, N. (2009). Satisfaction of Home Health Care Services among clients at Phutthamonthon District in Nakhon Pathom Province. Bangkok: Christian University. (in Thai)

Vapattanawong, P., & Prasartkul, P. (2017). Future Thai population. Retrieved from http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ConferenceII/Article/Article02.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย