ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • Kingkaew Samruayruen 1Faculty of Science and Technology, Pibulsongkram Rajabhat University
  • ศิริลักษณ์ บุญสรรค์ บุญสรรค์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุดารัตน์ สีหาเทพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

เกษตรกรชาวไร่อ้อย, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, กำแพงเพช

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงพยากรณ์ (predictive research) นี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และวัตถุประสงค์ทั่วไป คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Krajcie and Morgan ได้จำนวน 261 คน และการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่กลุ่มตัวอย่างตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (P-value<.001) โดยมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถอธิบายได้ร้อยละ 30.3 (2) เกษตรกรมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X=119.1, SD=12.99) ผลการวิจัยที่ได้ สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางนโยบาย หรือจัดโปรแกรมส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านต่าง ๆ ที่ดีขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและเหมาะสม และเป็นข้อมูลสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังความเสี่ยงในการเกิดโรคจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่มีพฤติกรรมการใช้อยู่ในระดับสูงต่อไป

References

Bureau of Occupational and Environmental Diseases. (2016). Occupational and environmental health problemand disease profile 2016. Retrieved from http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_59.pdf. (in Thai)

Bureau of Occupational and Environmental Diseases. (2017). Occupational and environmental health problem and disease profile 2017. Retrieved from http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_ envocc_situation_60.pdf. (in Thai)

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (1999). Health promotion planning: An education and ecological approach (3rd ed.). Mountain view, CA: Mayfield publishing.

Intarakamhang, U. (2017). Health literacy: Measurement and development. Bangkok: Sukhumvit Printing. (in Thai)

Lorig, K. R., Mazonson, P. D., & Holman, H. R. (1993). Evidence suggesting that health education for self-management in patients with chronic arthritis has sustained health benefits while reducing health care costs. Arthritis & Rheumatism, 36(4), 439-446.

Manganello, J. A. (2008). Health literacy and adolescents: A framework and agenda for future research. Health Education Research, 23(5), 840-847. Retrieved from https://doi.org/10.1093/her/cym069

Office of the Cane and Sugar Board. (2017). Sugarcane growing annual report 2016-2-017. Retrieved from

http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9999.pdf. (in Thai)

Samruayruen, K., & Kitreerawutiwong, N. (2018). Understanding on assessing health literacy. EAU Heritage Journal Science and Technology, 12(3), 1-13. (in Thai)

Sangpakdee, K., Silprasit, K., Peangthai, D., Khwaiphan, W., Siriyan, S., & Kroeksakul, P. (2014). A study of

chemical use behaviors of farmers in Ongkharak District, Nakhon Nayok Province, Thailand. Khon Kaen Agriculture Journal, 42(3), 375-384. (in Thai)

Siripanich, S. (2013). Situation and health effects related to pesticides 2013. Weekly Epidemiological Surveillance Report, Thailand, 44(44), 689-92. Retrieved from http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2013/wesr_2556%20digital/wk56_44.pdf. (in Thai)

Sorensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., & Brand, H. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BioMed Central Public Health Journal, 12, 80. http://www.biomedcentral.com/1471-2458/12/80.

Thai Health Promotion Foundation. (2018). Pesticide poisoning. Retrieved from https://www.thaihealth.or.th/Content/41568-โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช.html. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย