การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของท่าอากาศยานในสังกัดของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ด้วยการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล วิธี Slacks-Based Measure

ผู้แต่ง

  • นิศากร สมสุข คณะการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สุฐิต ห่วงสุวรรณ คณะการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • บัณฑิต รัตนไตร หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สุรพันธ์ ใจมา นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ท่าอากาศยาน, การประเมินประสิทธิภาพ (การดำเนินงาน), เขตการบิน, เขตนอกการบิน, การวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล, Slacks-Based Measure

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานเชิงเปรียบเทียบของกระบวนการหลักในท่าอากาศยาน จำนวน 6 แห่ง ที่ดำเนินการโดย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ในปีงบประมาณ 2561 และ (2) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล (Data Envelopment Analysis--DEA) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้หลักการของการโปรแกรมเชิงเส้น โดยใช้วิธีที่เรียกว่า Slacks-Based Measure—SBM ในการประเมินค่าคะแนนประสิทธิภาพที่ได้จากการคำนวณค่าปัจจัยนำเข้าส่วนที่เกิน (input slack) และค่าปัจจัยผลผลิตส่วนที่ขาด (output slack) โดยตรง งานวิจัยนี้มุ่งเน้นกระบวนการหลัก 3 กระบวนการที่เชื่อมโยงกัน ได้แก่ กระบวนการผลิต การบริการในเขตการบิน และการบริการเขตนอกการบิน โดยปัจจัยนำเข้าขั้นต้นมี 4 ปัจจัย (จำนวนพนักงาน, ขนาดทางวิ่ง, ลานจอดอากาศยาน, และขนาดอาคารผู้โดยสาร) ปัจจัยนำเข้า/ผลผลิตขั้นกลางมี 3 ปัจจัย (ความสามารถในการรองรับอากาศยาน, ความสามารถในการรองรับผู้โดยสารภายในอาคารผู้โดยสาร และความสามารถในการรองรับปริมาณสินค้าของคลังสินค้า) และปัจจัยผลผลิตสุดท้ายมี 3 ปัจจัย (การขึ้น-ลงของอากาศยานพาณิชย์, จำนวนผู้โดยสารรวม, และปริมาณสินค้าและพัสดุไปรษณียภัณฑ์เข้า-ออก (ไม่รวมผ่าน)) ซึ่งข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากรายงานประจำปี พ.ศ. 2561 ของ ทอท. ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 6 ท่าอากาศยานมีประสิทธิภาพด้านกระบวนการผลิต ขณะที่มีเพียง 1 ท่าอากาศยานที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานในเขตการบิน คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และมี 3 ท่าอากาศยานที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานในเขตนอกการบิน คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย และจากผลการศึกษาค่าปัจจัยนำเข้าส่วนที่เกินและค่าปัจจัยผลผลิตส่วนที่ขาดจะช่วยให้ท่าอากาศยานแต่ละแห่งทราบแนวทางในการปรับกลยุทธ์โดยการเสริมสร้างปัจจัยผลผลิตให้มากขึ้นได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ท่าอากาศยานสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

References

References

Adler, N., Liebert, V., & Yazhemsky, E. (2013). Benchmarking airports from a managerial perspective. Omega, 41, 442–458.

Alavi, K., Firouzjah, J. A., & Alimohammadi, H. (2015). Measuring efficiency of provincial offices of Iran’s Ministry of Youth Affairs and Sports. Pelagia Research Library Advances in Applied Science Research, 6(2), 65–73.

AOT, Investor Relations Department. (2018). Airports of Thailand Plc. for Fiscal year 2018 (October 2017-September 2018). Retrieved November 4, 2019, from https://aot.listedcompany.com/misc/PRESN/20181204-aot-corporatePresentation-fy2018.pdf.

AOT. (2018). Annual report 2018–Airports of Thailand Public Company Limited. Retrieved September 1, 2019, from https://aot.listedcompany.com/misc/AR/20190108-aot-ar-2018-en.pdf.

Banker, R. D., Charnes, A., & Cooper, W. W. (1984). Some models for estimating technical and scale inefficiencies in data envelopment analysis. Management Science, 30(9), 1078–1092.

Charnes, A., Cooper, W. W., & Rhodes, E. (1978). Measuring the efficiency of decision making units. European Journal of Operational Research, 2, 429–444.

Gillen, D., & Lall, A. (1997). Developing measures of airport productivity and performance: An application of data envelopment analysis. Transportation Research Part E, 33(4), 261–273.

Gitto, S., & Mancuso, P. (2012). Two faces of airport business: A non-parametric analysis of the Italian airport industry. Journal of Air Transport Management, 20, 39–42.

Hosseini, K., & Stefaniec, A. (2019). Efficiency assessment of Iran’s petroleum refining industry in the presence of unprofitable output: A dynamic two-stage slacks-based measure. Energy, 189, 1-12.

Klamsaengsai, S. (2014). Thailand Airport Operation model for the low cost carriers. Doctoral Dissertation, National Institute of Development Administration, Thailand.(in Thai)

Liu, D. (2016). Measuring aeronautical service efficiency and commercial service efficiency of East Asia airport companies: An application of Network Data Envelopment Analysis. Journal of Air Transport Management, 52, 11–22.

Mahmoudabadi, M. Z., & Emrouznejad, A. (2019). Comprehensive performance evaluation of banking branches: A three-stage Slacks-Based Measure (SBM) data envelopment analysis. International Review of Economics & Finance, 64, 359-376.

Pournader, M., Kach, A., Fahimnia, B., & Sarkis, J. (2019). Outsourcing performance quality assessment using Data Envelopment Analytics. International Journal of Production Economics, 207, 173-182.

Suebpongsakorn, A. (2012). Methodology of Data Envelopment Analysis (DEA) and technical efficiency measurement. Journal of Economics Chiang Mai University, 16(1), 44–82. (in Thai)

Theeranuphattana, A., & Boonjom, W. (2018). Development of model for assessing commercial bank efficiency by using CAMEL framework for Data Envelopment Analysis. Journal of Business Administration, 41(158), 19–47. (in Thai)

Tone, K. (2001). A slack based measure of efficiency in Data Envelopment Analysis. European Journal of Operational Research, 130, 498–509.

Yimruthai, F., & Somsuk, N. (2017). Performance measurement of Aircraft Movement Operations in the medium-sized Airport’s Airside Areas Using Data Envelopment Analysis (DEA) Technique. EAU Heritage Journal Science and Technology, 11(3), 173–183. (in Thai)

Yu, M. M. (2010). Assessment of airport performance using the SBM-NDEA model. Omega, 38, 440–452.

Yu, Y. S., Han, H. T., & Barros, A. (2012). Evaluating technical efficiency of Taiwan public listed companies: an application of Data Envelopment Analysis. Interdisciplinary Journal of Research in Business, 1(12), 16-23.

Zha, Y., Liang, N., Wu, M., & Bian, Y. (2016). Efficiency valuation of banks in China: A dynamic two-stage slacks-based measure approach. Omega, 60, 60-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย